Fatoutkey-logo

Fatoutkey

Podcasts

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

Location:

Thailand

Genres:

Podcasts

Description:

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

Twitter:

@fatoutkey

Language:

Thai


Episodes
Ask host to enable sharing for playback control

คำถาม 20 ข้อ เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (ไลฟ์#73: )

4/15/2024
ไลฟ์#73: 20 คำถามเกี่ยวกับ Atherosclerosis วันอาทิตย์ 14 เม.ย.2567 เวลา 20.00 น. เมื่อสองสามวันที่แล้วใน Twitter ก็มีการวิวาทะระหว่างกลุ่มที่เชื่อว่าโดยวิวัฒนาการแล้ว อาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันเป็นหลัก (Carnivore diet) เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมนุษย์ และ คอเลสเตอรอลไม่ได้ทำให้เกิด Atherosclerosis ไม่เช่นนั้น สิงโต หรือสัตว์ที่เป็น carnivore ก็ต้องเกิด atherosclerosis ไปแล้ว กับกลุ่มที่เชื่อว่า อาหารที่มีพืชเป็นหลักคืออาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมนุษย์ (Plant based diet) ในไลฟ์#73 นี้ เราจะมาทำความเข้าใจ Atherosclerosis ผ่านคำถามที่ถูกถามบ่อย 20 ข้อ โดยผู้ที่จะมาตอบคำถามคือ Prof.William C. Roberts แพทย์โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศสหรัฐอเมริกาในด้านพยาธิวิทยาของหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังเป็นอดีต editor in chief ของวารสาร American Journal of Cardiology มา 40 ปี ท่านเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ.2566 สิริอายุได้ 91 ปี คำถามที่น่าสนใจอย่างเช่น 1. สุนัข สิงโต เสือ และแมว ซึ่งกินสัตว์อื่น ซึ่งเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล หลอดเลือดพัฒนา atherosclerosis ได้หรือไม่ 2. มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช (Herbivores) หรือสัตว์กินสัตว์อื่น (Carnivores) กันแน่ แล้วทำไมหลอดเลือดมนุษย์จึงอ่อนไหวต่อการเกิด atherosclerosis 3. พันธุกรรม เป็นต้นกำเนิดของ Atherosclerosis จริงหรือไม่ 4. Atherosclerosis เป็นเรื่องของคนชรา เป็นโรคของความเสื่อมของหลอดเลือดจริงหรือไม่ น้องๆที่ไม่ได้ไปเที่ยวสงกรานต์ และสนใจอยากจะรู้คำตอบตอบคำถามทั้ง 20 ข้อที่เกี่ยวข้องกับ atherosclerosis ในไลฟ์#73 นี้ค่ะ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans งานวืจัยอ้างอิง 1. Twenty questions on atherosclerosis https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1312295/pdf/bumc0013-0139.pdf 2. Human species-specific loss of CMP-N-acetylneuraminic acid hydroxylase enhances atherosclerosis viaintrinsic and extrinsic mechanisms https://www.pnas.org/doi/pdf/10.1073/pnas.1902902116?download=true 3. The Cause of Atherosclerosis https://moscow.sci-hub.ru/2641/e0e2d7c2febefd271daa2239135ce95d/roberts2008.pdf?download=true

Duration:01:15:02

Ask host to enable sharing for playback control

สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C (ไลฟ์#72)

3/13/2024
ไลฟ์#72 : สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C หลังจากความล้มเหลวของงานวิจัยยา CSL112 ของบริษัท biotech CSL Behring ซึ่งเป็น Human Apolipoprotein A1 (apolipoprotein สำคัญบน HDL Particle) CSL112 ทำหน้าที่ผลักคอเลสเตอรอลออกจาก macrophage ของ plaque หลอดเลือด (Cholesterol Efflux Enhancer) และส่งเสริมเอ็นไซม์ LCAT ซึ่งหน้าที่สำคัญนี้ของ ApolipoproteinA1 บนผนัง HDL เป็นหน้าที่ที่นักวิจัยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นความหวังสำคัญในการสร้างกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยง/รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันให้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยสำคัญที่ล้มเหลวนี้ทำให้ความเข้าใจบทบาทของ HDL เหมือนกลับไปตั้งต้นใหม่ เพราะงานวิจัยสารพัดในอดีตที่ทดสอบการเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่อยู่ใน HDL และทดสอบหน้าที่ของ HDL (functionality of HDL) ต่อการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจดูเหมือนจะล้มเหลวไปหมด ไม่ว่าจะเป็น Niacin, Fibrate, Gemfibrozil, Hormone Replacement และ CETP inhibitors พี่ปุ๋มโชคดีที่ได้มีโอกาสฟังเล็กเชอร์เรื่อง The Evolving Narrative of HDL-C: Contemporary Insights on Quality vs Quantity for Targeting Cardio Protection เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2566 จัดโดย National Lipid Association เป็นเล็คเชอร์ที่ดีมาก (กอไก่ล้านตัว) โดยศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านโรคหลอดเลือดหัวใจและ Lipidology 3 ท่าน หัวข้อเป็นดังนี้ค่ะ 1. Rethink the HDL Hypothesis: Then and Now โดย Professor Vera A. Bittner MD, MNLA University of Alabama 2. More than a Number: Functional Role of HDL for Atheroprotection โดย Professor Robert S. Rosenson MD, FNLA, Mount Sinai New York 3. Restoring confidence in HDL: Does CEC hold a promising as a potential therapeutic target? โดย Professor Christie M. Ballantyne MD, Baylor College of Medicine, Houston Texas (คนนี้เป็น Editor texbook สำคัญ Clinical Lipidology) แม้เนื้อหามันจะยาก แต่มันก็ท้าทายพี่ในการจะนำมาสรุปเป็นไลฟ์ #72 โพสต์นี้ไฮไลท์ประเด็นสำคัญจากเล็คเชอร์ HDL ที่พี่ได้ฟัง ให้อ่านเป็นน้ำจิ้มกันก่อน 1. HDL Nomenclature: HDL =/= HDL-C แต่เกี่ยวข้องกับขนาดของ particle ความหนาแน่น รูปร่าง ประจุ จำนวน ที่สำคัญมากคือ ประเภทของ Apolipoprotein (AI, AII, CIII, E) โปรตีน มากกว่า 300 ชนิด ไขมัน มากกว่า 300 ชนิด micro RNA ที่อยู่บน HDL Particle ส่งผลต่อหน้าที่ของ HDL ที่แตกต่างกันในคนแต่ละคน (wow!!) 2. ดังนั้น ความเชื่อฝังหัวที่มาจาก Classic Epidemiological Study อย่าง Framingham Study ว่า HDL เป็น good cholesterol การมีระดับ HDL-Cholesterol ที่สูง จะลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น เราควรจะลืมมันไปได้แล้ว 3. Low HDL-C predicts poor outcomes, high HDL-C is not protective for ASCVD (Atherosclerotic Cardiovascular Disease) 4. เราควรจะมุ่งความสนใจไปที่หน้าที่ของ proteins และ Lipid ที่อยู่บน HDL ซึ่งส่งผลให้ทำหน้าที่แตกต่างกัน ไม่ใช่สนใจปริมาณคอเลสเตอรอลที่อยู่ใน HDL พี่หวังว่าไลฟ์นี้ จะทำให้น้องๆที่มีความเชื่อว่า ไม่ต้องสนใจระดับ LDL-Cholesterol ที่สูง ตราบใดที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำ และระดับ HDL-Cholesterol สูง เพราะ LDL particle จะมีขนาดใหญ่ ไม่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ และ HDL-C ที่สูงจะช่วยปกป้องหัวใจ จะได้เข้าใจเสียใหม่ว่า HDL-C ที่สูงไม่ได้มีฤทธิ์ในการปกป้องหัวใจแต่อย่างใด และ LDL particle size ก็ไม่ได้สำคัญมากไปกว่าจำนวน LDL particle #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans#ApoBgirl

Duration:01:43:10

Ask host to enable sharing for playback control

หลักฐานหักล้าง Carbohydrate-Insulin Model of Obesity จากการดีเบตระหว่าง Dr.Stephan Guyenet vs Gary Taubes (ไลฟ์#71)

3/11/2024
Joe Rogan Experience #1267: Debate ระหว่าง Gary Taubes vs Stephan Guyenet เมื่อวันที่ 19 มี.ค.พ.ศ.2562 หลังจากพี่ปุ๋มเปิดเพจมาได้ 1 ปีกับ 3 เดือน ยังคงเชื่อใน Carbohydrate Insulin Model of Obesity (CIM) สุดจิตสุดใจว่า ฮอร์โมนอินซูลินเป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์บนโลกนี้อ้วน คาร์โบไฮเดรตเลวร้าย บูชา Gary Taubes, Jason Fung ประดุจพระเจ้า😅…พี่ทราบข่าวว่า Gary Taubes จะดีเบตกับ Dr.Stephan Guyenet, Neuroscientist specialized in Obesity ในรายการ Joe Rogan Experience ตามประสาสาวกผู้ภักดี ก็ตามไปนั่งเฝ้าขอบ YT เตรียมเชียร์ Gary Taubes เต็มที่ และตลอด 2 ชั่วโมง 37 นาที ที่นั่งฟังอยู่ ต่อมเอะใจพี่ทำงานอย่างหนัก เพราะจากที่เป็น #ทีมGary พี่เริ่มปันใจไปให้ #ทีมStephan ด้วยหลักฐานแน่นหนาที่ Dr.Stephan ทำการบ้านมาอย่างดีมาก ประกอบกับความหล่อใสกิ๊กของ Stephan เมื่อ 5 ปีที่แล้วนิดหน่อย..ฮี่ ฮี่ ทำให้พี่เริ่มตาสว่างว่า Carbohydrate และ ฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้ทำให้มนุษย์อ้วนตราบใดที่ energy balance สมองเป็นอวัยวะหลักในการควบคุมน้ำหนัก โดยทำงานสัมพันธ์กับฮอร์โมนจากทางเดินอาหาร จากตับอ่อน จากเนื้อเยื่อไขมัน และจากฮอร์โมนอื่นๆ เพื่อสร้างสมดุล energy metabolism คาร์โบไฮเดรตไม่ได้เลวร้าย การได้พลังงานล้นเกินเรื้อรังต่างหากที่เลวร้าย และเริ่มอ่านงานวิจัยที่ Stephan เตรียมข้อมูลมาเพื่อดีเบตกับ Gary อย่างบ้าคลั่ง ในไลฟ์#71 วันพฤหัสนี้ พี่จะนำหลักฐานงานวิจัยที่สำคัญของ Dr.Stephan Guyenet ที่ใช้ดีเบตหักล้าง Carbohydrate Insulin Model of Obesity ในดีเบตนี้ มาสรุปให้น้องๆฟังกัน (เอามาหมดไม่ได้เพราะ 200+ ฉบับ) เข้ากับสถานการณ์ร้อนระอุระหว่าง Dr.Kevin Hall vs Dr.David Ludwig ที่กำลังวิวาทะกันในทวิตเตอร์ผ่านการตอบโต้งานวิจัยระหว่าง Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model of Obesity (งานนี้ Dr.Kevin Hall ชนะแบบ evidences defeat doubts ถล่มทลายค่ะ) #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatoutHealthspans#DebunkCarbohydrateInsulinModelofObesity

Duration:01:42:07

Ask host to enable sharing for playback control

Progression of Early Subclinical Atherosclerosis (PESA) Study (ซีรีย์สรุปงานวิจัย #24)

1/28/2024
ไลฟ์ซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 24: Progression of Early Subclinical Atherosclerosis (PESA) Study จากไลฟ์# 70: ข้อบกพร่องของงานวิจัย Lean Mass Hyper Responder โดย Dave Feldman พี่ปุ๋มแจ้งน้องๆในตอนท้ายของไลฟ์ว่า จะนำงานวิจัยสำคัญมาก 3 ฉบับมาสรุปต่อ ซึ่งทั้ง 3 ฉบับคือ 1. Progression of Early Subclinical Atherosclerosis (PESA) Study 2. Coronary Artery Risk Development in Young Adults (CARDIA) Study 3. Prevent Coronary Artery Disease (PRECAD) Study เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญมากว่า กระบวนการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจแบบปรากฏอาการนั้น (Symptomatic Cardiovascular Disease) เริ่มต้นก่อกำเนิดตั้งแต่วัยหนุ่มสาว แม้ว่าร่างกายมีระดับ LDL-Cholesterol ในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปรกติ ร่วมกับไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆเลยก็ตาม (Cardiovascular Risk Factors) ก็สามารถเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยไม่ปรากฏอาการได้ (Subclinical Atherosclerosis) และเพิ่มความเสี่ยงของอุบัติการเกิดโรคหัวใจ (Cardiovascular Disease) ในระยะหลังของชีวิต เดิมทีพี่ปุ๋มจะทำไลฟ์#71 ตีแผ่ Lipid Energy Model 5 ข้อของ Dave Feldman แต่เปลี่ยนความคิดเอาไว้ทำไลฟ์ครั้งถัดไป เพราะเมื่ออ่านงานวิจัย Progression of Early Subclinical Study (PESA) จบแล้ว พี่พบว่ามันเป็นงานวิจัยที่สำคัญมาก ควรมีการสรุปและช่วยกันเผยแพร่ออกไปให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจในอันตรายของการปล่อยให้ระดับ LDL-Cholesterol สูงตั้งแต่อายุน้อยโดยไม่จัดการ ทั้งๆที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมอื่นใดเลย และเป็นการชี้ให้เห็นข้อบกพร่องเพิ่มเติมของ LMHR study ว่า แม้ CAC score = 0 ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยจากการมีภาวะหลอดเลือดอุดตันแบบไม่ปรากฏอาการ เมื่อจบซีรีส์การสรุปงานวิจัยครั้งที่ 24: PESA Study (ขอเน้นงานวิจัยฉบับนี้ค่ะ) พี่เชื่อว่าเมื่อพี่ทำไลฟ์ตีแผ่ Lipid Energy Model ทั้ง 5 ข้อของ Dave Feldman แล้ว น้องจะเข้าใจความแตกต่างของการใช้ “เรื่องเล่า” vs “การใช้หลักฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ“ สนับสนุนการที่เราจะเชื่อข้อมูลสุขภาพใดก็ตามมากขึ้น #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans

Duration:01:35:10

Ask host to enable sharing for playback control

ข้อบกพร่องของงานวิจัยแบบ Observational ล่าสุด Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman (Live 70)

1/9/2024
พบกับ ไลฟ์#70: ข้อบกพร่องของงานวิจัยแบบ Observational ล่าสุด Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman ลัดคิวไลฟ์เรื่องน่าสนใจที่พี่ปุ๋มเตรียมไว้หลายเรื่องเลยค่ะ เพื่อมาทำไลฟ์เรื่องนี้ก่อนเลย เนื่องจากเก็บข้อมูลได้ดีมากพอเป็นเรียบร้อยแล้ว และคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่น้องๆให้ความสนใจกัน ขอเวลาพี่ทำสไลด์ 1 วันค่ะ เราจะใช้ Evidence Based Medicine เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์จุดบกพร่องของงานวิจัยแบบ Observational study ฉบับนี้ ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “Carbohydrate restriction-induced elevation in LDL-Cholesterol and atherosclerosis: The Keto Trial” (NCT 05733325) กันค่ะ วัตถุประสงค์ของพี่คือ น้องๆควรได้รับโอกาสที่จะได้ฟังข้อมูลหลายด้าน จากนั้นอำนาจในการตัดสินใจจะเชื่อข้อมูลจากใคร เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของน้องๆค่ะ พี่ทำหน้าที่ๆพี่ควรทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นอันว่าจบภารกิจของพี่ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans

Duration:02:07:07

Ask host to enable sharing for playback control

โภชนาการเพื่อลดระดับ Apo B

12/26/2023
ไลฟ์ #69: โภชนาการเพื่อลดระดับ Apo B 👩🏻‍💻 จากไลฟ์#68 lipoproteins ที่ก่อให้เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน คือ lipoproteins ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 70 นาโนเมตร และมี Apolipoprotein B อยู่บน particles (Apo B containing lipoprotein particles) ซึ่งได้แก่ Chylomicron remnants, VLDL remnants, IDL, LDL และ Lp(a) มีแฟนเพจท่านหนึ่งถามมาในคอมเมนท์ว่า มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยลด Apo B ลงได้ 📌 ในไลฟ์#69 นี้ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปสำรวจงานวิจัยที่มี Prof. Allan D. Sniderman, Cardiologist, Lipidologist ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเรื่อง Apolipoprotein B เป็นหนึ่งใน author ของงานวิจัยนี้ งานวิจัยให้ข้อสรุปว่าโภชนาการแบบใดบ้างที่มีหลักฐานหนักแน่นในการช่วยลด Apo B จากนั้นเราจะสำรวจต่อว่า นอกจากใช้โภชนาการแล้ว มีวิธีอื่นใดอีกบ้างที่สามารถลด Apo B ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งข้อมูล 1. Nutritional management of hyperapo B https://www.cambridge.org/core/journa... 2. Psyllium Fiber With Simvastatin in Lowering Cholesterol https://jamanetwork.com/journals/jama... 3. Effects of apolipoprotein B on lifespan and risks of major diseases including type 2 diabetes: a mendelian randomisation analysis using outcomes in first-degree relatives https://www.thelancet.com/action/show... #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

Duration:01:27:38

Ask host to enable sharing for playback control

Lipoprotein particles ชนิดใดบ้างที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ

12/26/2023
ไลฟ์#68: Lipoprotein particles ชนิดใดบ้างที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ น้องๆมักจะได้ยิน กูรูสุขภาพ เตือนให้เราระวังอันตรายจาก small dense ldl particle บอกว่าเป็น ldl particle ที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ การเปลี่ยนมากินอาหารแบบคาร์บต่ำไขมันสูง จะทำให้ ldl-particle มีขนาดใหญ่ ไม่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ และให้เราสนใจสัดส่วน TG/HDL ถ้าใกล้เคียง 1 นี่ถือว่าปลอดภัย ไม่ต้องสนใจระดับ total cholesterol และ ldl-cholesterol ที่สูงลิ่ว….จริงหรือ ในไลฟ์#68 เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า lipoprotein particles ชนิดใดบ้าง ที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ เราควรสนใจแต่ small dense ldl particle จริงหรือ นอกจากนั้นมาฟังประธาน European Atherosclerosis Society คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ/lipidologist มา 30 ปี ให้สัมภาษณ์พูดถึงสัดส่วน TG/HDL ว่า เป็น parameter ที่ใช้ในการทำนายความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้จริงตามที่ กูรูสุขภาพ ชวนเชื่อเราจริงหรือ งานวิจัยอ้างอิงในไลฟ์#68: Lipoproteins ชนิดใดบ้างที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ 1. Low-density Lipoprotein Particle Number and Risk for Cardiovascular Disease https://moscow.sci-hub.st/817/60bd012... 2. Apolipoprotein B Particles and Cardiovascular Disease: A Narrative Review by Allan D. Sniderman https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... 3. LDL particle subclasses, LDL particle size, and carotid atherosclerosis in the Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis (MESA) https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16765... 4. Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease: pathophysiological, genetic, and therapeutic insights: a consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel https://academic.oup.com/eurheartj/ar... 5. Therapeutic Lipidology Chapter 27: Lipoprotein Subfractions in Clinical Practice by Jeffrey W.Meeusen https://link.springer.com/chapter/10.... 6. Metabolism and atherogenicity of apoB containing lipoproteins EAS https://eas-society.org/content/metab...#หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

Duration:01:49:18

Ask host to enable sharing for playback control

ออกกำลังกายแบบแแอโรบิค vs ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน แบบไหนลดความเสี่ยงโรคได้ดีกว่ากัน

12/26/2023
ไลฟ์ #67 การออกกำลังกายแบบแอโรบิค vs การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ควรออกกำลังกายแบบไหนถึงลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคต่างๆได้ดีที่สุด องค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำเรื่องการมีกิจกรรมทางกายกับประชาชน เพื่อนำไปสู่ความมีสุขภาพดีและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆโดยแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่มีความหนักปานกลาง 150-300 นาที หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิคแบบเข้มข้น 75 นาทีต่อสัปดาห์ และเพื่อประโยชน์เพิ่มเติมต่อสุขภาพ ควรออกกำลังกายแบบมีแรงต้านต่อมัดกล้ามเนื้อหลักทั่วร่างกายในระดับหนักปานกลางถึงเข้มข้นสัปดาห์ละ 2 ครั้งขึ้นไป ไลฟ์#67 นี้ พี่ปุ๋มจะนำบทความที่ดีมากของ Prof.Stuart M. Phillips ศาสตราจารย์ทางด้าน Muscle Kinesiology อยู่ที่ McMaster University ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้โภชนาการและการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านในการเปลี่ยนแปลง body composition รวมถึง Muscle protein turnover เขาบอกว่าถึงยุคที่การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านจะต้องเป็นรูปแบบ การออกกำลังกายหลักสำหรับประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว หน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกควรจะยอมรับและนำเอาการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเข้ามาเป็นกิจกรรมที่ประชาชนต้องทำร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ไม่ใช่มีลักษณะเป็น add on สำหรับผู้ที่สนใจ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans แหล่งข้อมูล: The Coming of Age of Resistance Exercise as a Primary Form of Exercise for Health https://journals.lww.com/acsm-healthf... Aerobic or Muscle-Strengthening Physical Activity: Which Is Better for Health? https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... Resistance Training for Older Adults: Position Statement From the National Strength and Conditioning Association https://journals.lww.com/nsca-jscr/fu... WHO GUIDELINES ON PHYSICAL ACTIVITY AND SEDENTARY BEHAVIOUR https://iris.who.int/bitstream/handle...

Duration:01:01:05

Ask host to enable sharing for playback control

กรดไขมันอิ่มตัว มีกลไกเพิ่มระดับ LDL-Cholesterol ได้อย่างไร?

10/13/2023
กรดไขมันอิ่มตัวมีกลไกเพิ่มระดับ LDL-Cholesterol ได้อย่างไร European Society of Cardiology ได้ออกคำแนะนำในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจปี พ.ศ. 2564: 2021 ESC Guidelines on cardiovascular disease prevention in clinical practice ในส่วนของโภชนาการ แนะนำให้บริโภคกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 10% ของพลังงานทั้งหมดที่บริโภคต่อวัน ในไลฟ์#66 นี้ พี่ปุ๋มได้งานวิจัยที่ดีมากมาจากคำแนะนำของ Dr. William Cromwell, Lipidologist ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Lipoproteins, ไขมัน มานานกว่า 30 ปี เพื่ออธิบายกลไกของกรดไขมันอิ่มตัวที่ส่งผลต่อการเพิ่มระดับ LDL-Cholesterol ซึ่งทำให้ ESC ออกคำแนะนำในปี พ.ศ. 2564 ดังกล่าว จำไว้ว่า Low Density Lipoproteins (LDL) เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน งานวิจัยอ้างอิง 1. The effect of diet on cardiovascular disease and lipid and lipoprotein level https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK570127/ 2. Mechanisms by which Dietary Fatty Acids Modulate Plasma Lipids https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0022316622103810?via%3Dihub 3. Dietary Fatty Acids and the Regulation of Plasma Low Density Lipoprotein Cholesterol Concentrations https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0022316623017492 4. Increases in Dietary Cholesterol Are Associated With Modest Increases in Both LDL and HDL Cholesterol in Healthy Young Women https://www.ahajournals.org/doi/pdf/10.1161/01.ATV.15.2.169?download=true 5. Does dietary cholesterol matter? https://zero.sci-hub.st/6086/6a5be4767ff78c355bec444f0ae5d8d2/grundy2016.pdf?download=true 6. Total fat intake for the prevention of unhealthy weight gain in adults and children: WHO guideline https://www.who.int/publications/i/item/9789240073654

Duration:01:37:23

Ask host to enable sharing for playback control

คาร์โบไฮเดรต เป็นต้นเหตุของการเกิด ภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือไม่

9/27/2023
ช่วงนี้ Dr.mario Kratz PhD. ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Nourished by Science ทำวิดีโอให้ความรุู้ดีๆเกี่ยวกับภาวะดื้อต่ออินซูลินติดกันหลายเรื่อง ล่าสุดวันนี้สดๆร้อนๆ เมื่อ 16 ช.ม.ที่ผ่านมา เขาได้ upload vdo ล่าสุดเรื่อง Do Carbs Cause Insulin Resistance? ซึ่งให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ผ่านงานวิจัยที่มีคุณภาพหลายฉบับ พี่ปุ๋มจึงคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้น้องๆได้ติดอาวุธความรู้ และไม่กลัว macronutrients ตัวใดตัวหนึ่ง จากการได้รับฟัง “เรื่องเล่า” ทางโซเชี่ยลมีเดียที่พูดซ้ำๆย้ำๆจนน้องๆไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริงกันแน่ เรื่องเล่าที่ได้ยินบ่อย เช่น 1. ฮอร์โมนอินซูลินทำให้อ้วน 2. ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้ลดน้ำหนักได้ยาก 3. กินคาร์บเยอะในอาหารแต่ละมื้อ จะกระตุ้นอินซูลิน ยิ่งกระตุ้นบ่อยยิ่งทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน มาฟังการสรุป วิดีโอ Dr.Mario ให้ความกระจ่างในเรื่องคาร์บกับการเป็นต้นเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือไม่กันค่ะ งานวิจัยอ้างอิง: 1. Measuring and estimating insulin resistance in clinical and research settings https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9542105/pdf/OBY-30-1549.pdf 2. Effect of sustained physiologic hyperinsulinaemia and hyperglycaemia on insulin secretion and insulin sensitivity in man https://sci.bban.top/pdf/10.1007/bf00400466.pdf?download=true 3. A severe but reversible reduction in insulin sensitivity is observed in patients with insulinoma https://sci.bban.top/pdf/10.1016/j.ando.2017.08.001.pdf?download=true 4. Production of insulin resistance by hyperinsulinaemia in man https://sci.bban.top/pdf/10.1007/bf00279918.pdf?download=true 5. Efficacy and safety of very-low-calorie ketogenic diet: a double blind randomized crossover study https://www.europeanreview.org/wp/wp-content/uploads/2274-2289-Safety-of-very-low-calorie-ketogenic-diet.pdf 6. Opposite Regulation of Insulin Sensitivity by Dietary Lipid Versus Carbohydrate Excess https://diabetesjournals.org/diabetes/article/66/10/2583/16346/Opposite-Regulation-of-Insulin-Sensitivity-by 7. Effects of high vs low glycemic index of dietary carbohydrate on cardiovascular disease risk factors and insulin sensitivity: the OmniCarb randomized clinical trial https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4370345/pdf/nihms671796.pdf 8. A Mediterranean and a high-carbohydrate diet improve glucose metabolism in healthy young persons https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s001250100009.pdf?pdf=button 9. Comparison of dietary macronutrient patterns of 14 popular named dietary programmes for weight and cardiovascular risk factor reduction in adults: systematic review and network meta-analysis of randomised trials https://www.bmj.com/content/bmj/369/bmj.m696.full.pdf 10. Mechanism by Which Caloric Restriction Improves Insulin Sensitivity in Sedentary Obese Adults https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4686951/pdf/db150675.pdf 11. Effects of weight loss on regional fat distribution and insulin sensitivity in obesity https://diabetesjournals.org/diabetes/article/48/4/839/10608/Effects-of-weight-loss-on-regional-fat

Duration:01:00:28

Ask host to enable sharing for playback control

ต้นกำเนิดของภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน ตอนจบ

9/27/2023
หลังจากจบตอนที่ 1 ของหัวข้อนี้ น้องๆได้ความเข้าใจเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างดัชนีมวลกายกับเบาหวานประเภทที่ 2 รับทราบว่าการได้รับพลังงานล้นเกิน ในคนที่มีระดับเพดานกักเก็บไขมันใต้ชั้นผิวหนังต่ำ (Personal Fat Threshold) อาจเป็นต้นกำเนิดของเบาหวานประเภทที่ 2 ในตอนจบนี้พี่ปุ๋มจะนำเอางานวิจัยที่สำคัญของ Prof.Roy Taylor ศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์และเมตาบอลิสม เป็น Director of Magnetic Resonance Center อยู่ที่ University of Newcastle สหราชอาณาจักร มาสรุปให้น้องๆฟังกัน เขาเป็นผู้ตั้งสมมุติฐานของ Personal Fat Threshold ว่าเป็นต้นกำเนิด (Aetiology) ของเบาหวานประเภทที่ 2 และสมมุติฐานของ Twin Cycle Hypothesis พี่ปุ๋มจะนำงานวิจัยที่สำคัญของ Prof.Roy Taylor มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกันนะคะ โดยเฉพาะงานวิจัยฉบับล่าสุดที่เพิ่งตีพิมพ์สดๆร้อนๆซึ่งเป็นการทดสอบสมมุติฐาน Personal Fat Threshold ของเขาที่สำคัญ ลิงค์อ้างอิงงานวิจัย 7 ฉบับ Cause of Insulin Resistance: The Personal Fat Threshold (ตอนจบ) 1. Reversal of type 2 diabetes: normalisation of beta cell function in association with decreased pancreas and liver triacylglycerol https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3168743/pdf/125_2011_Article_2204.pdf 2. Very Low-Calorie Diet and 6 Months of Weight Stability in Type 2 Diabetes: Pathophysiological Changes in Responders and Nonresponders https://diabetesjournals.org/care/article/39/5/808/30678/Very-Low-Calorie-Diet-and-6-Months-of-Weight 3. Primary care-led weight management for remission of type 2 diabetes (DiRECT): an open-label, cluster-randomised trial https://dacemirror.sci-hub.st/journal-article/54f864d9e758e0d7a4c02cc7d439d6c1/lean2017.pdf?download=true 4. Remission of Human Type 2 Diabetes Requires Decrease in Liver and Pancreas Fat Content but Is Dependent upon Capacity for β Cell Recovery https://www.cell.com/action/showPdf?pii=S1550-4131%2818%2930446-7 5. Aetiology of Type 2 diabetes in people with a ‘normal’ body mass index: testing the personal fat threshold hypothesis https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10472166/pdf/cs-137-cs20230586.pdf 6. From chronic overnutrition to insulin resistance: The role of fat-storing capacity and inflammation https://zero.sci-hub.st/1544/b69228f84ca76b1cfc1cd1bb4159b906/lionetti2009.pdf?download=true 7. Pathogenesis of type 2 diabetes: tracing the reverse route from cure to cause https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s00125-008-1116-7.pdf?pdf=button

Duration:01:28:10

Ask host to enable sharing for playback control

ต้นกำเนิดของภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน EP1 Cause of Insulin Resistance : The Personal Fat Threshold Hypothesis

9/11/2023
พี่ปุ๋มเพิ่งได้งานวิจัยฉบับล่าสุด ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 สดๆร้อนๆเลย ที่ทดสอบ Personal Fat Threshold กับการเป็นต้นกำเนิดของภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในกลุ่มคนที่มีเบาหวานประเภทที่ 2 แต่ค่าดัชนีมวลกายปรกติ น่าสนใจมากๆค่ะ พี่ปุ๋มจึงอยากจะทำไลฟ์#63 สรุปความเข้าใจเรื่อง Personal Fat Threshold กับความเกี่ยวพันภาวะดื้อต่ออินซูลินให้น้องๆได้ฟังกัน หัวข้อคร่าวๆที่ตั้งใจไว้คือ 1. คำจำกัดความของ Personal Fat Threshold และสมมุติฐานว่ามันคือต้นกำเนิด (Aetiology) ของ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน 2. Twin Cycle Hypothesis คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับ pathophysiology ของเบาหวานประเภทที่ 2 3. สถานที่เก็บไขมันภายในร่างกาย มีความสำคัญต่อการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อย่างไร 4. การจำกัดคาร์โบไฮเดรตหรือการจำกัดแคลอรี่กันแน่ที่ช่วยทำให้เบาหวานประเภทที่สองเข้าสู่ระยะสงบ (remission)

Duration:01:24:46

Ask host to enable sharing for playback control

รีวิวหนังสือ The Art and Science of Low Carbohydrate Living

9/4/2023
📢 พบกับไลฟ์#62 : Red Pen Reviews ได้ทำการรีวิวหนังสือเล่มที่ 21 ซึ่งเป็นหนังสือติด Top 3 ที่มีคนขอให้ Red Pen Reviews รีวิวมากที่สุด เมื่อครั้งที่ RPR ทำกิจกรรม Fund Raiser เมื่อปลายปี 2565 หนังสือ The Art and Science of Low Carb Living เขียนโดย Jeff Volek และ Stephen Phinney ซึ่งถือได้ว่าเป็น Godfathers ของโภชนาการแบบ ketogenic diet เลย พี่ปุ๋มจะสรุปสิ่งที่ Red Pen Reviews ทำการรีวิวหนังสือเล่มนี้ให้น้องๆได้ฟังกันนะคะ ที่สำคัญ การรีวิวหนังสือเล่มนี้ทำโดย Dr.Stephan Guyenet ผู้ก่อตั้ง Red Pen Reviews และ Peer review โดย Dr.Mario Kratz ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Nourished By Science ซึ่งพี่ปุ๋มแนะนำให้พวกเราไปติดตามช่อง YT ชื่อเดียวกันนี้ของเขา เพราะข้อมูลแน่น ไม่ได้ใช้เรื่องเล่า น้องๆจะได้ความรู้สุขภาพที่ถูกต้องจาก YT Channel นี้ค่ะ

Duration:01:28:46

Ask host to enable sharing for playback control

ปัจจัยสำคัญ 8 ประการ ต่อความมีสุขภาพดีเมื่อเริ่มสูงวัย

8/29/2023
ประชากรโลกอายุยืนยาวขึ้นเพราะความก้าวหน้าทางสาธารณสุข ยา และเทคโนโลยีการแพทย์ก็จริง แต่กลับพบว่ามีระบาดวิทยาของกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น  ไลฟ์#61 นี้มารีวิวงานวิจัยที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร JACC ในเดือน ก.ย. 2566 ถึงปัจจัยที่สำคัญยิ่ง 8 ประการ ซึ่งเชื่อมโยงกับ 9 Hallmarks of Aging ที่จะช่วยให้ท่านเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเรื้อรังอื่น

Duration:01:17:17

Ask host to enable sharing for playback control

จัดอันดับ 10 ไดเอ็ด ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ที่คุณต้องนำไปใช้ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP23)

5/17/2023
ซีรีส์สรุปงานวิจัย ครั้งที่ 23 “การจัดลำดับ Dietary patterns 10 ชนิดที่ได้รับความนิยม ตามคะแนนความสอดคล้องกับ American Heart Association 2021 Dietary Guidance” 📃 ในปี 2021 American Heart Association (AHA) ได้ออก Scientific Statement หลักการสำคัญทางด้านโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ นำไปสู่ Dietary, Pattern ที่ได้รับความนิยม 10 ชนิดที่มีการนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพที่ดีของหัวใจ 👩🏻‍💻 ในไลฟ์ซีเรียสสรุปงานวิจัยครั้งที่ 23 นี้พี่ปุ๋มจะนำ AHA SCIENTIFIC STATEMENT Popular Dietary Patterns: Alignment With American Heart Association 2021 Dietary Guidance: A Scientific Statement From the American Heart Association ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Circulation เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566 มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกันว่า 🥙 ในบรรดา Dietary pattern ที่ได้รับความนิยม 10 ชนิด เมื่อนำมาจัดลำดับด้วยการให้คะแนนความสอดคล้องกับหลักการของ American Heart Association 2021 Dietary Guidance แล้วนั้น Dietary pattern ใดได้คะแนนสูงสุด และ ต่ำสุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี

Duration:01:30:09

Ask host to enable sharing for playback control

ทำไมรักษาน้ำหนักที่ลดไปแล้วไว้ได้ยาก

5/5/2023
😬 ทุกครั้งที่เราพยายามลดน้ำหนัก ร่างกายตอบโต้ทั้งฝั่ง Energy Intake และฝั่ง Energy Expenditure เพื่อดึงเรากลับไปที่น้ำหนักตั้งค่าใหม่ ซึ่งก็คือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากน้ำหนักตั้งค่าเดิม 📃 งานวิจัยที่ดีมากของ Pollidori et al. ที่พี่ปุ๋มเคยเขียนสรุปโพสต์ไปเมื่อ 2 ปีก่อน เราพบว่า ทุกครั้งที่ลดน้ำหนัก ร่างกายจะตอบโต้ฝั่ง Energy Intake ด้วยการเพิ่มความอยากอาหาร (Appetite) 95 แคลอรี่ ต่อ น้ำหนักตัว 1 กก.ที่ลดไป ต่อวัน และตอบโต้ฝั่ง Energy Expenditure ด้วยการลด Resting Metabolic Rate 25 แคลอรี่ ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ที่ลดไป ต่อวัน เราเรียกกระบวนการทางสรีรวิทยาที่เป็น negative feedback นี้ว่า Metabolic Adaptation ซึ่งมีผลให้ทุกความพยายามลดน้ำหนักของเรา จึงยากในการที่จะรักษาน้ำหนักที่ลดไปไว้ได้นาน 📃 งานวิจัยชื่อ Long-Term Persistence of Hormonal Adaptations to Weight Loss ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 27 ต.ค. พ.ศ. 2554 โดย Prof. Priya Sumithran และคณะ ถือว่าเป็น “The greatest study of all time” ในการทำความเข้าใจ Metabolic Adaptation และได้รับการอ้างอิงไปมากกว่า 1,500 ครั้ง 👩🏻‍💻 ดังนั้น พี่ปุ๋มจึงคิดว่าควรจะนำมาสรุปให้น้องๆได้ฟังกันว่า ร่างกายตอบโต้การลดน้ำหนักผ่านการปรับตัวของฮอร์โมนอะไรบ้าง ที่ทำให้ Biology always wins และพี่จะนำตัวอย่างคนที่สามารถรักษาน้ำหนักที่ลดไปไว้ได้เท่าเดิมนานเกินกว่า 5 ปี เขามีวิธีที่จะลดกระบวนการตอบโต้นี้ได้อย่างไรบ้าง มันน่าสนใจที่จะศึกษาคนกลุ่มนี้ค่ะ

Duration:01:40:50

Ask host to enable sharing for playback control

Demystifying Medicine Fat Biology and Staying Thin โดย Dr Kevin Hall (Live#60)

4/28/2023
👩‍💼 ช่วงนี้พี่รับมือจัดการกับอาการบาดเจ็บที่ไหล่ หน้าอก สะบักหลัง จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก่อนสงกรานต์ กินยา ทำกายภาพรัวๆ อาการดีขึ้นช้าๆๆ ยังยกแขนขึ้นทางด้านข้างไม่ได้ แต่ขึ้นด้านหน้าพอได้ แล้วมันมีอาการร้อนที่ผิวตลอดเวลา ประคบเย็น ทาน้ำมัน นวดทุกวัน น้องมิลค์นักกายภาพซึ่งเก่งมากบอกว่า จิ้มไปตรงไหนก็เจออาการบาดเจ็บทั้งเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่พร้อมใจกันหดเกร็งตัวรุนแรงเพื่อป้องกันกระดูกไหปลาร้า ไหล่ของพี่ไม่ให้หัก ซึ่งมิลค์ประเมินว่าพี่ต้องใช้เวลาราว 2 เดือนกว่าเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดและเส้นเอ็นจะเยียวยาตัวเอง พี่รับรู้อารมณ์ตัวเองได้ว่า นอยด์ หงุดหงิด งอแง คนรอบตัวหมด ใช้เสียงเพลงเป็นเครื่องมือปลอบประโลมใจ ช่วงนี้ฟังเพลงเยอะมาก เลยไม่ได้โพสต์อะไรที่หน้าเพจมา 5 วัน ทั้งๆที่มีข้อมูลสุขภาพดีๆที่เก็บไว้เต็มไปหมด 😭 👩🏻‍💻 สำหรับไลฟ์ #60 นี้ พี่ตั้งใจว่าต้องทำสรุปวิดีโอเรื่องนี้ให้น้องๆฟัง ตั้งแต่ทราบว่า Dr.Kevin Hall กำลังจะไปเล็คเชอร์สดให้กับ vdo series Demystifying Medicine ของ NIH เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ความยาว 2 ช.ม. ซึ่งรอบเดือนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากคือ ขจัดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชีววิทยาของไขมันและวิธีรักษาระดับไขมันร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ “ผอม” เราจะได้เข้าใจถูกต้องกันเสียทีถึงกระบวนการสะสมและเผาผลาญไขมันในร่างกาย บางทีพี่ก็เห็น “เรื่องเล่า” การขจัดไขมันที่ไร้หลักฐานงานวิจัยสนับสนุนบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะการโยนความผิดให้ฮอร์โมนอินซูลิน จริงหรือที่คนที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินลดน้ำหนักได้ยาก

Duration:01:57:27

Ask host to enable sharing for playback control

Cholesterol-Years

4/8/2023
👨‍⚕️ จากวิดีโอเล็คเชอร์ชื่อ LDL-C Cumulative Exposure Hypothesis of ASCVD โดย Prof.Brian A Ference ซึ่งเป็นเล็คเชอร์เดียวของเขาที่พี่หาเจอใน Youtube และเป็นเล็คเชอร์ดีสุดๆ ที่บอกให้รู้ว่าไม่เพียงแค่ระดับ ldl-c ที่เราปล่อยให้สูงเกินระดับทางสรีรวิทยา (40 มก/ดล) มากเท่าไหร่เท่านั้น (Magnitude) แต่รวมถึงระยะเวลาที่เราปล่อยให้ระดับสูงเกินกว่าระดับสรีรวิทยาด้วย (Temporal) ที่เร่งความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างมหาศาล 👨‍⚕️ Prof. Brian A Ference เป็นนักวิจัยชื่อแรกของงานวิจัยสำคัญมาก ซึ่งถือเป็น Landmark study ชื่อ Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease. 1. Evidence from genetic, epidemiologic, and clinical studies. A consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel ซึ่งพี่ปุ๋มได้ทำไลฟ์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 20 ซึ่งสรุปงานวิจัยฉบับนี้ให้น้องๆได้ฟังกันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสรุปว่า Low density lipoproteins (LDL) เป็น “สาเหตุ” ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน )Atherosclerotic Cardiovascular Disease) 🚩 Apo B containing Lipoprotein particles ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 70 นาโนเมตร (ตั้งแต่ Chylomicron remnants, VLDL remnants ลงมา) สามารถแทรกเข้าออกใต้ชั้น intima ของหลอดเลือดได้หมด ในโลกโซเชียลมีเดีย health influencers กำมะลอ (รวมถึงแพทย์บางคนด้วย 😭) โม้ว่า ldl-particle มี 2 แบบคือ แบบ A ขนาดใหญ่ (25 นาโนเมตร) และ แบบ B ขนาดเล็ก (15 นาโนเมตร) ถ้าใช้ไดเอ็ทบางประเภทแล้วทำให้ระดับ ldl-c พุ่งกระฉูด ไม่ต้องกังวล เพราะไดเอ็ทประเภทนี้จะทำให้ ldl particle เป็นแบบ A มีขนาดใหญ่ (25 นาโนเมตรนี่ใหญ่กว่า 70 นาโนเมตรเหรอ?) ตราบใดที่ hdl-c สูง ไตรกลีเซอไรด์ต่ำ แล้วบอกให้ดู ratio TG/Hdl ถ้าไม่เกิน 2 ไม่ต้องสนใจ ldl-c ที่สูงกระฉูดนี่พี่เศร้าใจมาก 👩🏻‍💻 ในไลฟ์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 21 นี้ พี่จะสรุปงานวิจัย 2 ฉบับที่ Dr.Thomas Dayspring อ้างถึง รวมทั้งจะอธิบายความเข้าใจผิดของ health influencer บางคนที่ให้ข้อมูลผู้ติดตามผิดๆว่า กินยาลดระดับไขมันกลุ่ม Statin แล้ว เสียชีวิตช้ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินยาแค่ 3 วัน สร้างความตลกขบขันในกลุ่มผู้ติดตาม ทั้งๆที่ ignorance ไม่รู้ว่าหายนะจาก compound effect ของเวลากำลังจะมาเยือน (หลังจากเจอความ ignorance ของ health influencer กำมะลอในโซเชียลมีเดียนี่ พี่ปุ๋มปากจัดขึ้นเยอะ 😁)

Duration:01:15:13

Ask host to enable sharing for playback control

Landmark study สรุปว่า LDL เป็นสาเหตุของ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

3/21/2023
👩‍💼ภารกิจที่พี่ปุ๋มตั้งใจทำ แม้ว่ามันจะใช้พลังงานกาย ใจ เงิน ในการทำไลฟ์แต่ละครั้งก็ตามคือ นำข้อมูลสุขภาพจากงานวิจัยที่มีคุณภาพมาย่อยให้น้องๆได้ฟัง/ชมกัน มีข้อมูลสุขภาพหลายเรื่องที่แพร่กระจายอย่างผิดๆอยู่บนโซเชียลมีเดีย เรื่องที่พี่ปุ๋มให้ความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง นอกเหนือไปจากความเข้าใจผิดว่า “ฮอร์โมนอินซูลินทำให้เราอ้วน ดังนั้นการตัดคาร์โบไฮเดรตออกไปจากมื้ออาหาร จึงเป็นวิธีที่จะช่วยลดน้ำหนักได้ดีที่สุด” ก็คือความเชื่อผิดๆที่ว่าระดับ ldl-cholesterol ที่สูง ไม่เป็นสาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ตราบใดที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำ และระดับ HDL-Cholesterol สูง พี่เชื่อว่าการที่น้องๆได้รับข้อมูลด้านเดียวจากเหล่า health influencers เหล่านี้ ที่นำเอางานวิจัยที่ไม่ได้มาตรฐานที่เผยแพร่กันต่อๆกันในเฉพาะกลุ่มมานำเสนอ ทำให้น้องๆเข้าไม่ถึงข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่เผยแพร่ได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์อยู่ในชุมชนการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น 👩🏻‍💻 ในไลฟ์ ซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 20 พี่จะสรุปข้อมูลงานวิจัย 1 ใน 2 ฉบับซึ่งถือเป็น landmark study เป็นคำประกาศที่เป็นเอกฉันท์ (Consensus Statement) จาก European Atherosclerosis Society Consensus Panel ชื่อ “Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease. 1. Evidence from genetic, epidemiologic, and clinical studies. A consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel” ตีพิมพ์ในวารสาร European Heart Journal เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 📃 งานวิจัยฉบับนี้ใช้ประโยคที่หนักแน่นมากว่า Low-density lipoproteins CAUSE atherosclerotic cardiovascular disease (ldl “เป็นสาเหตุ”ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน) ฟันธงหนักแน่นด้วยหลักฐานงานวิจัยทั้งด้านพันธุกรรม ด้านระบาดวิทยา และ randomized controlled tirials ครบถ้วน นอกเหนือจากที่งานวิจัยฉบับนี้เขียนไว้ชัดเจนว่า Lipoproteins-particle ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 70 นาโนเมตร (VLDL, VLDL-remnants, IDL, LDL, Lp(a)) สามารถแทรกเข้า-ออกใต้ชั้นหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้วนั้น ยังมีข้อมูลสำคัญอื่นๆที่พี่สมควรจะนำงานวิจัยฉบับนี้มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกัน เพื่อความกระจ่างว่า ทำไมการปล่อยให้ ldl-cholesterol (ที่จริงต้องพูดว่า ldl particle) สูงเกินระดับมาตรฐาน มากเท่าไหร่ และนานเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจมากเท่านั้น

Duration:01:49:45

Ask host to enable sharing for playback control

Cholesterol Paradox

3/6/2023
📃 มีงานวิจัยทำในประเทศเดนมาร์กชื่อ “Association between low density lipoprotein and all cause and cause specific mortality in Denmark: prospective cohort study” ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ British Medical Journal เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 ซึ่งเป็น prospective cohort study ศึกษาประชากรเดนมาร์กอายุ 20-100 ปี ที่ recruit ในช่วงปีพ.ศ. 2546-2558 จำนวน 108,243 คน ติดตามไป 9.4 ปี ดูความเกี่ยวพันระหว่างระดับ ldl-cholesterol กับ ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (all causes mortality) แล้วพบว่ามีลักษณะเป็น u-shape คือ ในประชากรที่มีระดับ ldl-cholesterol สูงและต่ำ มีความเกี่ยวพันกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 📌 งานวิจัยฉบับนี้ เป็นที่ฮือฮาในบรรดา health influencers ที่ปฏิเสธอันตรายของคอเลสเตอรอลเป็นอย่างยิ่ง (cholesterol deniers) ต่างนำข้อมูลมาเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวาง ตีความงานวิจัยอย่างไม่ถูกต้อง สร้างความสับสนให้กับประชาชน จนถึงขนาดที่นักวิจัยผู้ทำการศึกษาฉบับนี้ ต้องออกจดหมายแสดงความกังวลถึงการเผยแพร่ข้อมูลอย่างผิดพลาดในโซเชียลมีเดีย และชี้แจงข้อสรุปที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากคณะผู้ทำงานวิจัยฉบับนี้ 👩🏻‍💻 ในไลฟ์ # 59 พี่จะนำข้อมูลจากงานวิจัยมาอธิบายข้อเท็จจริงเรื่อง Cholesterol Paradox นี้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ การมีระดับ ldl-cholesterol ต่ำ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำเกินไป จริงหรือ?

Duration:01:24:29