Camouflage - Dhamma Talk-logo

Camouflage - Dhamma Talk

Religion & Spirituality Podcas

Dhamma Talk by Ajahn Camouflage, more info camouflagetalk.com

Location:

United States

Description:

Dhamma Talk by Ajahn Camouflage, more info camouflagetalk.com

Language:

Thai


Episodes
Ask host to enable sharing for playback control

360.ไม่เป็นอะไร กับอะไร ที่แท้จริง

5/3/2024
บรรยายเมื่อ 21-04-2567 ความไม่เป็นอะไร กับอะไร แท้จริงมันคืออะไร? คือความสามารถของชีวิตที่จะเป็นได้ทุกอย่าง โดยที่ไม่มีความขัดแย้งภายในเกิดขึ้นเลย ถ้านักปฏิบัติธรรมเราคนนึงมีความโกรธเกิดขึ้นในใจ อย่างรุนแรง อย่างปานกลาง อย่างเล็กน้อย สังเกตไหมว่า เรามีความเห็นต่อความมีอยู่ของมัน ในเชิงของการประเมิน ตัดสิน เหล่านั้นทั้งหมด คือ #ความขัดแย้ง ปัญหาถัดไปก็คือว่า ทำไมถึงเกิดความขัดแย้งขึ้นภายใน? เพราะชีวิตนั้น ยังมืดบอดด้วยอวิชชา ซึ่งความมืดบอดนั้นคือ ทิฏฐิ ความเชื่อ สิ่งที่ควรจะเป็น คืออนาคต คือการตัดสินอะไรต่าง ๆ มากมาย และความขัดแย้งภายในนั้นเอง คือความที่ชีวิตไม่มี #ความกระจ่างชัด ความกระจ่างชัดของชีวิตนี้มีอยู่แล้ว โดยเนื้อแท้ของชีวิตเป็นความกระจ่างชัด แต่มันถูกปกคลุมด้วยความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากอวิชชาในรูปแบบต่าง ๆ และนี่คือเหตุผลที่ทำไมคนคนนึง จึงต้องมี #ความแจ่มแจ้งต่อทุกย่างก้าวของชีวิต ความแจ่มแจ้งนั้นเอง คือ ขณะแห่งการขัดเกลา ความแจ่มแจ้งในขณะนั้นเอง คือ ขณะแห่งการจบสิ้นความขัดแย้งของชีวิต และผมไม่ได้ Demand ต้องการ ให้ใครสักคนหนึ่งไปฝึกอะไร แล้วถึงค่อยมาแจ่มแจ้ง เพราะความแจ่มแจ้งนั้น สามารถเริ่มต้นได้ทันที ตั้งแต่ขณะนี้ เรามีวัตถุดิบทุกอย่างพร้อมอยู่เสมอที่จะแจ่มแจ้ง ถ้าเราพูดในเชิงสัมพัทธ์ เราประเมินตัวเองว่า เราวัตถุดิบน้อย ผมบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเราเริ่มจากเรื่องทุกเรื่อง ที่เล็กๆ การคิด...ทำไมคิดแบบนี้ ? การพูด...ทำไมพูดแบบนี้ ? การทำ...ทำไมทำแบบนี้ ? การตอบโต้ Response Reaction ต่างๆ…ทำไมเป็นแบบนี้ ทำไมถึงมีการ Action แบบนี้ ? เราไม่ต้องการวัตถุดิบอะไรเลยในแบบที่เราพยายามจะฝึกกัน ต้องการใช้อย่างเดียว คือ #ความใส่ใจต่อชีวิตนี้ และผมบอกว่า ทุกคนมีสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้ว มันอยู่ที่เราจะใส่ใจมั้ย แค่นั้น ... ความเป็นคนดี ก็ยากระดับหนึ่ง ความเป็นคนบริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็ยากอีกระดับหนึ่ง แต่ความสามารถในการเป็นทุกอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีความขัดแย้ง นั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด คนดี ไม่อยากเป็นคนไม่ดี คนบริสุทธิ์ ไม่อยากเป็นคนไม่บริสุทธิ์ มันจึงเป็นเรื่องยากเหลือเกินสำหรับคนเหล่านี้ ที่จะสามารถเป็นทุกอย่าง อย่างสมบูรณ์ได้ เราเลือกจะเป็นความไม่เป็นอะไร กับอะไรได้ ซึ่งยังง่ายกว่า ความเป็นทุกอย่าง อย่างสมบูรณ์ได้ #Camouflage 21-04-2567

Duration:00:20:36

Ask host to enable sharing for playback control

359.ชีวิตที่ไม่ต้องเลือก

4/27/2024
บรรยายเมื่อ 06-04-2567 ชีวิตเราเลือกสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผล ด้วยการได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ ดีหรือไม่ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต แต่ส่วนที่สำคัญกว่า คือ การเท่าทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั้งหมด หรือที่ผมสอนว่า “แจ่มแจ้ง” แล้วปัญญา หรือทิศทางที่จะรู้ว่าต้องเลือกไปทางไหน จึงจะเกิดขึ้น และนั่นหมายความว่า มันจะเกิดชีวิตที่ไม่ต้องเลือก เพราะมันเป็นสิ่งที่แจ่มแจ้งอยู่แล้ว ว่าจะต้องเลือกแบบไหน ทำไมเราต้องมีชีวิตที่แจ่มแจ้ง? เพราะชีวิตเป็นความสับสนอยู่ตลอดเวลา กับสิ่งต่าง ๆ ที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย และเราต้องเลือกอยู่เสมอในชีวิตของเรา เราต้องเห็นโครงสร้างใหญ่แบบนี้ ชีวิตของเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ และตลอดชีวิตของเราต้องเลือก และเราเลือกด้วยการชั่งน้ำหนักของเหตุผลต่าง ๆ นานา ซึ่งเหตุผลก็เป็นความกระจ่าง ในสิ่งที่เราตัดสินใจในระดับหนึ่ง ซึ่งมนุษย์เราก็ใช้วิธีนั้นมาตลอด เพื่อจะตอบตัวเองได้ ตอบคนอื่นได้ ในการที่เราเลือกทำอะไรสักอย่างนึง ถ้าเราสัมผัสจริง ๆ รู้สึกจริง ๆ เราจะรู้ได้ว่า การใช้เหตุผลในการเลือกทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ลึก ๆ มันก็ยังเป็นความสับสนอยู่เหมือนกัน ว่าจริง ๆ แล้วมันถูกไหม เพราะเราจะพบว่า เหตุผลของเรา กับเหตุผลของคนอื่น ไม่เหมือนกัน ถ้าคนที่เค้าเชื่อเหมือน ๆ เรา เค้าก็อาจจะคิดเหมือนกับเรา แต่คนที่เค้าเชื่อไม่เหมือนเรา เค้าก็คิดอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเราเห็นโครงสร้างแบบนี้ของชีวิต เราก็จะพบว่า ชีวิตนั้นจะพึ่งพาแต่ความมีเหตุผลในแบบที่เราคิด และทำมาตลอด มันก็ดูจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะคอนแคลน และไม่ค่อยน่ามั่นใจเท่าไหร่ และเป็นความรู้สึกว่าไม่จริง ถ้าเราเห็นโครงสร้างของชีวิตอันนี้ ชีวิตนั้นจะเริ่มเปิด Dimension ที่ผมบอก ก็คือ Dimension ของปัญญา ที่เกิดขึ้นจากชีวิตที่ไม่ต้องเลือก ... ผมสอนให้เราแจ่มแจ้งความจริงที่มันปรากฏอยู่ในชีวิตของเรา เช่น ผมบอกว่า ชีวิตของเรามีสัมพันธภาพ มีปฏิสัมพันธ์กับหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน พี่น้อง และหลายอย่างเราต้องเลือกในการดำเนินชีวิต แต่คนเราไม่เห็นโครงสร้างของการเลือกว่า มันเป็นทุกข์ยังไง มันคอนแคลนยังไง มันยังไม่จริงยังไง นี่คือประเด็นสำคัญ เพราะคนเราไม่เคยเห็นความเป็นอย่างนี้ของมัน เราจึงใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ แบบนี้ ตลอดเวลา และนั่นก็เป็นที่มาของ...เมื่อเราเลือกอะไรบางอย่างแล้ว ทิฏฐิ ความเชื่อ ความยึดมั่นในสิ่งที่เราเลือก ก็ก่อตัวขึ้น เมื่อเราเลือก มันต้องถูก เมื่อเราเลือก เรามีเหตุผล เราต้องเห็นทั้งหมดนี้ เห็นนัยยะบอกมันว่า โครงสร้างชีวิตที่ดูเหมือนจะธรรมดา ที่เราใช้กันอยู่ และมันก็ไม่มีอะไรผิด ใคร ๆ เค้าก็ทำแบบนี้ ใคร ๆ ก็ต้องมีเหตุผล ต้องรู้จักเลือก เราใช้ชีวิตตื้น ๆ แบบนั้น เราจึงไม่เห็นโครงสร้างใหญ่แบบนี้ ว่ามันส่งผลอะไรบ้าง เพราะฉะนั้น ผมอยากให้พวกเราทุกคนแจ่มแจ้งกับชีวิต เช่นตัวอย่างแบบนี้ จากเล็ก ๆ เรื่องธรรมดาในชีวิต แต่แจ่มแจ้งโครงสร้างของมันทั้งหมด ว่ามันสร้างอะไรบ้างที่เป็นผลเสีย หรือที่ผมพูดว่า เป็นทิฏฐิ ความยึดมั่นทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิต และเราเห็นทั้งหมดนั้น มนุษย์คนนึงเมื่อเห็นทั้งหมดนั้น สมอง หัวใจ ชีวิต มันรับรู้ รู้สึกถึงทางตันของมัน ที่มันเคยทำอย่างนี้ตลอดชีวิต แล้วมันจึงสามารถมีความสร้างสรรค์ที่จะเปิด Dimension ใหม่ของชีวิตขึ้นมา ที่ผมเรียกว่า “ปัญญา” #Camouflage 06-04-2567

Duration:00:15:00

Ask host to enable sharing for playback control

358.อิสรภาพในการมีชีวิต

4/23/2024
บรรยายเมื่อ 06-04-2567 358.อิสรภาพในการมีชีวิต การปฏิบัติธรรมจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อคนเรามีความสามารถจะมีชีวิตจริง ๆ ได้ และความสามารถจะมีชีวิตจริง ๆ ได้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราแจ่มแจ้งความครอบงำทั้งหมดที่มีอยู่ในชีวิตของเรานี้เอง และความสามารถจะแจ่มแจ้งความครอบงำทั้งหมดที่มีในชีวิตของเรานี้เอง นั่นคือ การที่คนคนนึงรู้จักตัวเอง การรู้จักตัวเองจึงไม่ตกอยู่ภายใต้จิตใจของมนุษย์คนหนึ่ง ที่ตัดสินตัวเองด้วยคำพูดบางอย่าง ความหมายบางอย่าง และมีนัยยะซ่อนเร้น ที่อยากจะดีกว่านี้ซ่อนอยู่ การรู้จักตัวเอง ไม่ใช่ว่ามันดี มันมีเหตุผล มันควรจะทำ…ไม่ใช่เรื่องแบบนั้น สำหรับผม #การรู้จักตัวเอง ไม่ใช่วิธีการ ไม่ใช่สิ่งที่ใครสักคนบอกผมว่าควรจะทำ แต่ผมรู้จากชีวิตของผมเลยว่า ชีวิตมนุษย์คนหนึ่งจะต้องมีชีวิตจริง ๆ แค่นั้น การจะมีชีวิตจริง ๆ แค่นั้น ไม่ใช่การที่ผมจะกลายเป็นอะไร แต่เป็นแค่ความรู้สึกว่า ผมมีอิสรภาพในการมีชีวิต ไม่ใช่อิสรภาพที่ผมจะไปทำอะไรก็ได้ แต่เป็นชีวิตที่พ้นจากความครอบงำทั้งหมดที่สังคม โลกมนุษย์นี้ ให้กับเราตั้งแต่เด็กจนโต และความที่ชีวิตสามารถมีอิสรภาพแบบที่ผมพูดได้ นั่นคือ “ชีวิตมีอิสรภาพ ไม่ใช่ผมอิสรภาพ” นั่นคือสัจธรรมสูงสุดของชีวิตนี้ อิสรภาพนั่นเอง คือตัวแทนของนิพพาน สิ่งที่เราอยากจะไปถึง สิ่งที่เราถวิลหา และมองว่ามันเป็นยังไง ให้ความหมายมันว่าเป็นยังไง ในเงื่อนไขต่าง ๆ นานา เช่น ไม่มีตัวตน ไม่มีกิเลส หรืออะไรก็ตามที่เราให้ความหมายกับมันว่าบริสุทธิ์หรืออะไรก็ว่าไป สิ่งที่เราคิด ไม่ใช่สิ่งนั้น ความว่าง หรือนิพพาน คือ สิ่งที่โอบอุ้มทุกสิ่งทุกอย่าง ปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระ นั่นหมายความว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจักรวาลนี้ ไม่มีใครสักคนให้เงื่อนไขกับมัน ไม่มีใครสักคนควบคุมมัน ไม่มีใครสักคนตัดสินมัน มันมีอิสรภาพที่จะก่อเกิด กำเนิด ตาย และแปรเปลี่ยน ไปได้อย่างหลากหลาย อย่างที่ไร้ข้อจำกัด และนั่นคืออำนาจของนิพพาน อิสรภาพสูงสุดของชีวิต จึงเป็นตัวสะท้อนนิพพาน และนั่นคือความหมายที่ผมบอกว่า ทำไมผมถึงสอนให้ทุกคนแค่รู้จักตัวเอง เรานึกว่าการจะไปถึงนิพพาน เราต้องปฏิบัติธรรมในหลากหลายรูปแบบที่เราเคยเรียนมา ไม่ว่าสายไหน นิกายไหน แต่มันแอบซ่อนความที่เราจะเป็น เราจะเอาอะไรบางอย่าง การแอบตัดสินสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซ่อนอยู่ตลอดเวลา เราต้องเห็นแบบนั้น #Camouflage 06-04-2567

Duration:00:08:45

Ask host to enable sharing for playback control

357.รู้จักตัวเอง

4/16/2024
บรรยายเมื่อ 06-04-2567 การรู้จักตัวเอง ต้องการแค่อย่างเดียว คือ ความใส่ใจต่อตัวเองอย่างสูงสุด ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคืออะไร? ใส่ใจต่ออิทธิพลต่าง ๆ ของคำพูดคนอื่น ว่ามันให้อิทธิพลต่อเรายังไง? เราถูกผลักไปทางโน้นที ทางนี้ที ได้ยังไง? ไม่มีอะไรจะผลักเราได้ ถ้าเราไม่เอาดี เราถูกผลัก เพราะเราตัดสิน เราตัดสินว่าไม่ดี พอไม่ดี...เราก็จะเอาดี การรู้จักตนเอง คือ การเห็นกระบวนการผลักดันทั้งหมดนี้ แต่มันเป็นเรื่องที่เหนื่อย มันใช้พลังงานความใส่ใจต่อชีวิตมาก ที่จะหลุดพ้นจากความลวงหลอกทั้งหมด ที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิต เมื่อรู้จักตัวเอง ชีวิตที่แท้จริง หรือการที่คนคนนึงมีความสามารถที่จะมีชีวิตจริง ๆ ได้ จะเริ่มผลิบานออกมา จะเริ่มเปิดเผยออกมา แล้วเราจะเริ่มแยกออกระหว่าง “ชีวิตที่เป็นจริง” กับ “ชีวิตที่อยู่ภายใต้ความครอบงำ” ทั้งหมด ตั้งแต่เราเกิดจนถึงตอนนี้ ... การรู้จักตัวเอง คือ ความสามารถในการเป็นคนดีที่แท้จริง คนดี ไม่ใช่อยู่ตรงข้ามกับคนไม่ดี นั่นเป็นคนดีในโลก ความดีที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการที่คนคนนึงรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ ความดีถึงจะเกิดขึ้น ความดีเกิดขึ้นจากอริยสัจ 4 จากการรู้จักตัวเอง แต่คนดีในโลก เกิดขึ้นจากเกลียดคนนั้น...เค้าไม่ดี เกิดขึ้นจากการตัดสินคนนั้น...เค้าไม่ดี ฉันจะไม่เป็นแบบนั้น เพราะฉะนั้น ฉันเป็นคนดี คนดีที่เกิดขึ้นจากคนไม่ดี ก็คือ คนไม่ดีเหมือนกัน พอ ๆ กัน “ดี” ของเรา อยู่ตรงข้ามกับ “ไม่ดี” เสมอ แต่แท้จริง มันคือสิ่งเดียวกัน เราไม่เคยให้ความดีนั้น ผลิบานขึ้นมาจากการรู้จักชีวิตที่แท้จริง ว่ามันคืออะไร #Camouflage 06-04-2567

Duration:00:14:46

Ask host to enable sharing for playback control

356.หัวใจที่พร้อมจะรับเคล็ดลับวิชาสูงสุด

3/25/2024
บรรยายเมื่อ 15-05-2565 อาจารย์ : ศาสนาพุทธเป็นสากล ไม่ใช่เรื่องพิสดาร ไม่ใช่เรื่องแบบที่เราคิดว่า โอ้ย เรานั่งทำสมาธิไม่ได้ เรามีสติไม่ได้ หรือเราไม่มีสติ เราหลงเยอะ ...เข้าใจมั้ย ไม่ใช่เรื่องแบบนั้น ทั้งหมดนี้เป็น#เรื่องอุดมคติที่เราจะไปถึง ซึ่งนั่นไม่ใช่ เราอยากจะเปลี่ยนตัวเอง...เราถามตัวเองว่าเราจะเปลี่ยนตัวเองจากที่นี่ไปที่นั่นได้ยังไง และการปฏิบัติธรรมน่าจะช่วยเราได้ ที่เราจะไม่เป็นอย่างนี้ เราจะดีกว่านี้ เข้าใจมั้ย นี่คือสิ่งที่นักปฏิบัติธรรมหรือคนที่จะเข้ามาปฏิบัติธรรมคิดว่า การปฏิบัติธรรมจะให้เราแบบนั้น ผมถามว่า ถ้ามันไม่ใช่แบบนั้นล่ะ เราจะปฏิบัติธรรมมั้ย? เอ : สำหรับหนู หนูก็จะปฏิบัติธรรมค่ะ อาจารย์ : เพราะอะไร? เอ : หนูก็ไม่รู้ค่ะ แต่หนูก็จะปฏิบัติค่ะ อาจารย์ : ถ้าการปฏิบัติธรรมจะไม่ได้เปลี่ยนเราให้ดีกว่านี้เลย เราก็จะปฏิบัติธรรมหรอ? เอ : หมายถึงว่าเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงหรอคะ อาจารย์ : ไม่ใช่แย่ลง หมายถึงไม่เปลี่ยนเลย สมมติว่าไม่เปลี่ยนเลย เป็นแบบนี้แหละ เอ : ถ้าไม่เปลี่ยนเลย เราก็ไม่ปฏิบัติดีกว่า อาจารย์ : นั่นคือแปลว่าเราปฏิบัติธรรมเพื่อหวังจะได้อะไรใช่มั้ย? เอ : เอิ่มมม ใช่ค่ะ อาจารย์ : เรามีความอยากจะได้อะไรใช่มั้ย? นั่นใช่การปฏิบัติธรรมมั้ย? เอ : ไม่ใช่ค่ะ อาจารย์ : เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะปฏิบัติธรรม เราต้องเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมคืออะไรกันแน่ เอ : ค่ะ เพราะว่าหนูยังไม่เข้าใจ หนูยังไม่เคลียร์ ยังมองภาพรวมไม่ออกว่ามันคืออะไร พอยังมองภาพรวมไม่ออก และถ้าเราเดินต่อ ความเข้าใจเรามันก็จะผิด อาจารย์ : โอเค ถ้าการปฏิบัติธรรมคือการที่ไม่ได้ไปต่อ…จะเป็นยังไง ลองคิดดูว่า ไม่ใช่การเดินไปข้างหน้า ไม่ใช่การเดินต่อ …มันจะเป็นยังไง เอ : หมายถึงว่าถ้าการปฏิบัติธรรมไม่ใช่การเดินต่อใช่ไหมคะ งั้นนนน...มันก็ต้องมีทางอื่น อาจารย์ : ทางอื่นเรียกว่าเดินต่อเหมือนกัน เอ : งั้นก็ต้องอยู่กับที่สิคะ อาจารย์ : อืมใช่ อยู่กับที่ อยู่กับที่แล้วจะเหลืออะไร? เอ : อยู่กับที่…มันก็ต้องไม่มีอะไร ผลลัพธ์มันก็ต้องเท่าเดิม…รึเปล่าคะ มันไม่มีมากขึ้น ไม่มีน้อยลง อาจารย์ : อืม เพราะฉะนั้น ถ้าเราอยู่กับที่ เห็นมั้ยว่าสมองเราคิดไม่ออกว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราคิดออกได้แต่ว่า ถ้าอยู่กับที่ก็ไม่มีความก้าวหน้า ไม่มีการเจริญขึ้นในทางที่ดี และก็ไม่ใช่จะไม่ดีด้วยถ้าอยู่กับที่ สมองเราคิดตรรกะในเชิงนั้นออก ถูกมั้ย สมองเราคิดไม่ออกว่าในความเป็นจริงแล้วการอยู่กับที่นั้นจะเกิดอะไรขึ้น และนั่นคือการที่ทำไมนักปฏิบัติธรรมถึงไม่ยอมอยู่กับที่ เพราะเขาคิดไม่ออกว่ามันจะไปต่อยังไง เจริญก้าวหน้ายังไง เขาจึงไม่ยอมอยู่กับที่ และเขาจึงเลือกที่จะปฏิบัติธรรมในเชิงที่เขาจะเปลี่ยนตัวเองจากที่นี่ไปที่นั่น และนั่นทั้งหมดไม่ใช่การปฏิบัติธรรม...งงมั้ย? เอ : ไม่งงค่ะ อาจารย์ : มนุษย์ทุกคนจะทำทุกอย่างตามเหตุผลที่ตัวเองคิดออกเท่านั้น เพราะฉะนั้น ที่ผมถามว่า ถ้าปฏิบัติธรรมแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย...จะทำไหม? ถ้าเราบอกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย สมองจะบอกว่าเราไม่ได้อะไรเลย เราจะไม่ทำ เพราะฉะนั้น กระบวนการปฏิบัติธรรมของมนุษย์เราอยู่ภายใต้เงื่อนของตรรกะและเหตุผลตลอดเวลา เราจึงไม่เคยได้ปฏิบัติธรรมกันเลย เราไม่ได้ทำสิ่งที่เรียกว่าปฏิบัติธรรมจริงๆ เราแค่ทำกิจกรรมที่คล้ายๆ สิ่งที่เรียกว่าการปฏิบัติธรรมเฉยๆ #การมีชีวิตที่สิ้นหวัง การใช้ชีวิตที่ไม่มีความหวังใดๆเลย #คือหัวใจที่พร้อมจะรับเคล็ดวิชาสูงสุด หัวใจที่สิ้นหวังคือหัวใจแห่งปัจจุบัน เป็นหัวใจที่พร้อมจะเปิดรับธรรมะสูงสุด คืออริยสัจ 4 แต่ถ้าเรามีทางไปต่อ นั่นคือทุกก้าวในทุกวันของเรา...มีหวัง เพราฉะนั้น หัวใจนั้นเราได้มันหรือยัง?...เราไม่ได้ เราเข้ามาในวัด เข้ามาในสำนัก มีแต่คนบอกให้เราไปทำแบบนี้แล้วเดี๋ยวจะดีกว่านี้ ไปฝึกแบบนี้แล้วเดี๋ยวสติจะเร็วกว่านี้ ทำอย่างนี้แล้วเดี๋ยวจะมีสมาธิได้ดีขึ้น ทำอย่างนี้แล้วเดี๋ยวจะไวขึ้น รู้ทันมากขึ้น ทุกอย่างให้อนาคตกับเรา และหัวใจที่อยู่ในอนาคตคือหัวใจที่ปิด เพราะฉะนั้น ที่เมื่อกี้ผมถามว่า ถ้ามาปฏิบัติธรรมแล้วไม่ได้ไปไหน ไม่ได้ไปต่อ ไม่ได้อะไร แล้วจะยังปฏิบัติไหม? เอ : ก็ยังปฏิบัติค่ะ อาจารย์ : เพราะอะไร?...เพราะน่าจะได้ไป ใช่มั้ย? ถูกมั้ย ลึกๆ เรารู้สึกอย่างนั้น ก็อาจารย์บอกแล้วนิ ถ้าหัวใจเราไม่ไปต่อเนี่ย เดี๋ยวเราจะได้แน่ๆ ได้เคล็ดลับวิชาสูงสุด ถูกมั้ย คำตอบที่ทุกคนรู้แล้ว หรือทุกคนก็รู้แล้วแต่ลืมไปแล้ว ผมจะพูดใหม่...ต่อให้ไม่ได้อะไร เราก็ยังปฏิบัติธรรม ก็เพราะว่า #การปฏิบัติธรรมนั้นคือชีวิตที่แท้จริง…มันเป็นจริง มันเป็นชีวิตจริงๆ ไม่ใช่ชีวิตลวงๆ ที่อยู่ภายใต้ความคิด การตัดสิน ของคู่ทั้งหลาย เมื่อเรารู้จักชีวิตจริงๆ เรากลับไปใช้ชีวิตลวงๆไม่ได้ เราจึงจำเป็นจะต้องปฏิบัติธรรม...

Duration:00:07:39

Ask host to enable sharing for playback control

355.ทั้งหมดคือกับดัก

3/20/2024
บรรยายเมื่อ 18-11-2566 355.ทั้งหมดคือกับดัก เราจะค้นพบชีวิตที่ลุ่มลึกขึ้น ลึกซึ้งขึ้น มันยิ่งกว่าความที่เราอยากจะได้ “ความไม่ทุกข์” ชีวิตลุ่มลึกแบบนั้น ไม่ได้สามารถหาได้ในไอเดียของ “ความปลอดภัย” เราอาจจะไปทำเรื่องโง่ที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่ไม่น่าเชื่อเลยว่านักปฏิบัติธรรมอย่างเราจะไปทำ แล้วมันให้ทุกข์กับเรามาก แต่นั่นอาจจะเป็นเพชรเม็ดงาม ที่ทำให้ชีวิตนี้เกิดปัญญาขึ้น จากความทุกข์นั้น การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีไอเดียล่วงหน้าว่า ชีวิตควรจะอยู่ตรงไหน ยังไง แบบไหน ตามที่เราเคยสั่งสมมา รับมาทั้งหมด เพราะนั่นหมายความว่า เราวาดภาพชีวิตไว้ทั้งหมดล่วงหน้าแล้ว แล้วเราเดินตามนั้น และทั้งหมดนั้นคือ “ความคิด” ผมถึงบอกว่า การที่เราจะมีชีวิตจริง ๆ มันไม่ใช่เรื่องง่าย เรานึกว่า ชีวิตจริง ๆ คืออะไร? คือการที่ได้ทำตามใจตัวเองอะไรก็ได้??? `มันไม่ได้ง่ายแค่นั้น การมีชีวิตจริง ๆ หมายถึงว่า คนคนหนึ่งแจ่มแจ้งในเงื่อนไข ความครอบงำ ของกรอบ ไอเดียทุกอย่าง ที่มันอยู่ในสมองเรา การพ้นมา ไม่ใช่แค่การที่บอกว่า “อ๋อ อาจารย์บอกว่าต้องออกมา”…ไม่ใช่แบบนั้น แต่หมายถึง แจ่มแจ้งว่าทั้งหมดนั้น มันเป็นความครอบงำ ที่ไม่จริง ด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่เพียงแค่ อาจารย์บอกว่า “ไอ้นี่ไม่จริง ให้ออกมาเลย” แล้วเราก็ออก นั่นเป็นความเชื่อใหม่ นั่นแปลว่าเราไม่ได้แจ่มแจ้งอะไรเลย เราแค่เชื่อผมเฉย ๆ เราต้องแจ่มแจ้งทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิต ทุกอย่างคือ “กับดัก” #Camouflage 18-11-2566

Duration:00:10:59

Ask host to enable sharing for playback control

354.ปัจจุบันของเรา เป็นแค่ภาพที่เราสร้างขึ้น

3/18/2024
บรรยายเมื่อ 18-11-2566 เรามีภาพสิ่งที่ควรจะเป็น และนั่นคือความขัดแย้ง และนั่นคือเหตุแห่งทุกข์ ชีวิตของมนุษย์เรามีปัญหา เพราะเรามีเป้าหมาย เป้าหมาย คือ ภาพที่เราคิดเอาไว้ว่า เราควรจะฉลาดกว่านี้ เราควรจะอ่าน แล้วก็รู้เรื่องมากกว่านี้ ภาพนั้นเกิดขึ้นได้ ก็เพราะว่าเราเชื่อว่า “มีเราจริง ๆ” แล้วพอเราเชื่อว่า กายกับใจนี้ เป็นเรา มีเราจริงๆ มันอยากให้ทุกอย่าง ดีหมดทุกอย่าง เช่น ต้องฉลาด ต้องสวย ต้องแข็งแรง ต้อง...ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ปัญหาของมนุษย์เรา คือ เราไม่สามารถอยู่ปัจจุบัน อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ แต่ปัญหามากกว่านั้นก็คือ มันมี “เรา” อยู่กับปัจจุบัน เหมือนที่พี่บอกเมื่อกี้นี้ว่า เราไม่อยู่กับปัจจุบัน เรามีภาพที่เราอยากจะเป็น เราก็เลยทุกข์ ถ้าเราแค่อยู่กับปัจจุบันนี้...ก็ไม่มีอะไร ปัญหาถัดมาก็คือ เวลาเราบอกว่า “เราอยู่ปัจจุบัน เรามีเงื่อนไขไหม?” เช่น ถ้าเราอยู่กับปัจจุบัน เราไม่ควรจะต้องรู้สึกทุกข์ นึกออกมั้ยว่า ปัจจุบัน มันเหมือนเป็นสิ่งที่ดี เวลาเราฟังคำสอนว่า “ปัจจุบัน”…มันต้องดีสิ มันต้องไม่มีทุกข์ หรือว่าไม่ปรุงแต่ง เราคิดแบบนั้น ความคิดเหล่านั้นเกิดขึ้นได้ เพราะว่ามันมี “เรา” อยู่กับปัจจุบัน มันไม่พ้นว่ามีสิ่งที่ควรจะเป็น เราคิดว่า ถ้าเป็นปัจจุบัน มันควรจะเป็นอย่างนี้...อย่างนี้...อย่างนี้ เราไม่เข้าใจว่า ปัจจุบัน ก็คือ ปัจจุบัน มันเป็นยังไง ก็เป็นอย่างนั้น แต่เรามีเงื่อนไขกับมัน ... ทุกวันนี้เรามาปฏิบัติธรรม ทำไม? ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เราจะพ้นทุกข์ ซึ่งผมบอกว่า ไม่ใช่ ถ้าเรามาด้วยเป้าหมายนี้ ทั้งหมดที่เราฟัง เราจะเอาไปทำผิดหมดทุกอย่าง เพราะไม่ว่าธรรมะอะไรก็ตามที เราจะใช้เซ็นเตอร์คือ “ตัวเรา” นี้เป็นคนแปลความหมาย แล้วเราแปลความหมายสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ในทางดีเท่านั้น เพราะเราจะเอา แม้คำว่า “ปัจจุบัน” ที่เราคิดว่า เราเข้าใจได้ง่าย ๆ แต่เราไม่เข้าใจ เพราะเราแปลว่า “มันดี” #Camouflage 18-11-2566

Duration:00:10:35

Ask host to enable sharing for playback control

353.ทำไมจึงเกิดการเพ่ง

3/14/2024
บรรยายเมื่อ 18-11-2566 วิถีชีวิตหลัก มันสร้างความหลง ซึ่งแบ่งแยกกับความรู้ และทำให้เราตั้งใจ เพราะไม่อยากหลง แต่เรามานั่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อย่าเพ่ง ปล่อย อย่าประคอง...ไม่มีวันจบ เราไม่เข้าใจต้นตอ ของปัญหาทั้งหมด ว่าคืออะไร #Camouflage 18-11-2566

Duration:00:04:31

Ask host to enable sharing for playback control

352.ฟังด้วยชีวิต

3/8/2024
บรรยายเมื่อ 01-03-2567

Duration:00:02:25

Ask host to enable sharing for playback control

351.ไม่หลงเหลือสัจธรรม

3/7/2024
บรรยายเมื่อ 28-10-2566

Duration:00:06:52

Ask host to enable sharing for playback control

350.พระเจ้าคือ...

3/7/2024
บรรยายเมื่อ 29-02-2567

Duration:00:04:44

Ask host to enable sharing for playback control

349.เราทุกข์เพราะเราติด

3/7/2024
บรรยายเมื่อ 29-02-2567

Duration:00:04:57

Ask host to enable sharing for playback control

348.หนีไม่พ้นอยู่คู่ตรงกันข้าม

3/7/2024
บรรยายเมื่อ 14-10-2566

Duration:00:03:57

Ask host to enable sharing for playback control

347.ทุกข์จากจุดอ้างอิง

2/20/2024
บรรยายเมื่อ 02-10-2566 เราทุกข์ เพราะเรามีมาตรฐาน อย่างมาตรฐานว่า เราไม่ควรจะทุกข์ นั่นก็คือความปลอดภัย ใช่มั้ย? เราควรจะเป็นจิตบริสุทธิ์ ก็คือความปลอดภัยของชีวิต ใช่มั้ย? อันดับแรก คือเราไม่เห็น ความต้องการความปลอดภัยของวิธีคิด ที่จะใช้ชีวิตยังไง อันดับ 2 คือเราไม่เห็นว่า เราทุกข์จากวิธีการอยู่ในความปลอดภัย เช่น จะอยู่อย่างปลอดภัย ควรจะเป็นอย่างนี้ วิธีคิด ก่อให้เกิดบรรทัดฐาน หลักการ ที่อยู่ แล้วพอเกิดจุดอ้างอิงอันนี้ขึ้น ความทุกข์จะเกิดขึ้นจากจุดอ้างอิงอันนี้ ที่เราสร้างขึ้นมาเอง คือเราไม่เข้าใจว่า ชีวิตนั้น ทุกข์และสุข อย่างเป็นจริงที่สุด โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับจุดอ้างอิงเป็นยังไง เข้าใจมั้ย? ต้องคิดตามนะ เราทุกข์จากจุดอ้างอิง ซึ่งทุกข์ทั้งหมดนี้...ไม่จริง แต่มนุษย์มีทุกข์จริง ๆ อยู่ ที่ไม่เกี่ยวกับจุดอ้างอิง ถ้าใครไม่เข้าใจ เดินมาตรงนี้ เดี๋ยวจะตบหน้าทีนึง นึกออกมั้ย? เจ็บ ไม่ต้องอ้างอิงกับอะไร ทุกข์ทันที หรือโมโห ก็ทุกข์ทันทีเหมือนกัน คำว่า “เห็นตามเป็นจริง” นั้น หมายความว่า “ชีวิตต้องจริงก่อน” ถึงจะเห็นตามเป็นจริงได้ คือทุกข์จริง ๆ ก่อน ถึงจะเห็นทุกข์ตามความเป็นจริงได้ แต่ที่เรามีจุดอ้างอิงไว้นั้น มันก็ทุกข์ แต่เป็นทุกข์ปลอม ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นเอง จะทุกข์จริง ๆ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น กว่าเราจะรู้จักทุกข์จริง ๆ เราต้องเห็นทุกข์ปลอมๆ ซึ่งมีอยู่ตลอดชีวิตของเราก่อน ถ้าทุกข์ปลอม ๆ ยังไม่หมด ก็ยังไม่เห็นทุกข์จริง ๆ แต่การปฏิบัติธรรม คือ เห็นตามความเป็นจริง แล้วเมื่อไหร่จะได้เห็น? ชีวิตมันซับซ้อนมาก ที่ผมเคยบอกว่า หัวใจที่ไม่แบ่งแยก ไม่ใช่จุดสุดท้ายที่เราจะไปถึง แต่คือจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นที่เราจะได้เรียนรู้ทุกข์จริง ๆ ว่าคืออะไร #Camouflage 02-10-2566

Duration:00:28:33

Ask host to enable sharing for playback control

346.ไปสู่สิ่งที่ยังไม่รู้

2/8/2024
บรรยายเมื่อ 30-09-2566 เมื่อเราเริ่มต้นที่จะรู้จักตัวเอง เราจะเริ่มลงลึก ในการลงลึกนั้น เราจะพบว่ามีข้อมูลความรู้ ความคิด บทสรุปบางอย่างที่เราเคยเรียนรู้มา คุณธรรมความดี ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเข้ามาคอยแทรกแซง บิดเบือน การลงลึก เพื่อที่จะรู้จักความจริงของชีวิตนี้ อำนาจของการบิดเบือนจากสิ่งต่าง ๆ ที่ผมพูดถึงนั้นมีพลังมหาศาล เพราะตลอดชีวิตของเราตั้งแต่เกิด และความเคยชินของจิตใจที่จะอยู่ภายใต้ความครอบงำนั้น มีพลังอำนาจ มันมีพลังอำนาจมหาศาล เพราะเบื้องหลังของมัน คือ “อวิชชา” ความดำรงอยู่ของอวิชชา ที่มีมาอย่างยาวนาน คือพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ และมนุษย์คนหนึ่ง จะต้องมีพลังของวิชชา ไม่น้อยไปกว่าอำนาจของอวิชชา พลังของวิชชานั้น จะเกิดขึ้นได้ยังไง? พลังของวิชชานั้น เกิดขึ้นจากความสามารถของชีวิต ที่จะรู้จัก และฝ่าวงล้อมของอวิชชา เป็นกระบวนการของชีวิต ที่ไม่มีบทสรุปล่วงหน้า ไม่มีความเห็นว่า สิ่งที่เป็นอยู่ขณะนี้...จริง ๆ มันควรจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบนี้ ไม่มีเป้าหมาย ของการทะลุทะลวงอวิชชาทั้งหลาย เพื่อจะได้รับอะไร เป็นการทะลุทะลวงที่ปราศจากมลทินของมิจฉาทิฏฐิ ที่ครอบงำและให้ทิศทางของชีวิตนี้เอาไว้ และนี่คือความสามารถของความมีชีวิต ที่เป็นปัจจุบันอย่างยิ่ง … ระบบของความคิด ความรู้ บทสรุปของความจริง คือ ความครอบงำอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ เราไม่เคยเห็นมัน เราพลาดที่จะเห็นมัน เพราะมันดี เพราะมันส่งผลดีต่อชีวิตของเรา และนี่คือพลังอันยิ่งใหญ่ของอวิชชา การเห็นมัน เปรียบเสมือนการสูบพลังงานทั้งหมดของอวิชชา เปลี่ยนเป็นวิชชา เราไม่ได้สร้างพลังงานขึ้นมาใหม่ เราไม่สามารถจะสร้างพลังงานอันยิ่งใหญ่ ในแบบที่อวิชชาทำได้ เราแค่ต้องพลิกมันเฉย ๆ และความสามารถนี้ ไม่มีใครจะสอนให้เราได้ การปฏิบัติธรรม คือ ศิลปะอันยิ่งใหญ่ในการใช้ชีวิต และเราต้องเรียนรู้ศิลปะนั้น ด้วยตัวของเราเอง #Camouflage 30-09-2566

Duration:00:26:50

Ask host to enable sharing for playback control

345.หยินหยาง

2/3/2024
บรรยายเมื่อ 24-09-2566 ชีวิต ไม่ใช่การปรุง หรือไม่ปรุง ไม่ใช่ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ แต่คือ การเห็นปัจจัย เงื่อนไขทั้งหมดในชีวิต ที่ก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้น นั่นก็หมายความว่า อารมณ์ ความรู้สึกนั้น ๆ ก็ไม่ถูกจริงจัง ไม่ว่าจะบริสุทธิ์ ไม่ปรุง หรือไม่บริสุทธิ์ ปรุง 2 อันนี้เท่ากัน เพราะไม่มีใครให้คุณค่า ว่าอะไรดีกว่าอะไร เพราะถ้ามันมีคุณค่า ว่าอะไรดีกว่าอะไร จะมีใครซักคน เป็นคนตัดสิน และคนตัดสินจะเป็นเจ้าของสิ่งที่ดีกว่า และจะมีปัญหากับสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม ... ชีวิต คือของทั้งสองข้าง ที่อยู่ด้วยกันตลอดเวลา เหมือนหยินหยาง ปัญญา คือ ความแจ่มแจ้งในความเข้าใจของทั้งหมดของชีวิตนี้ ที่มีของทั้งสองด้าน และมันอยู่ด้วยกันเสมอ เหมือน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์ แต่เวลาเราไปเที่ยวภูเขา แม่น้ำ ทะเลหมอก แม้กระทั่งช้อปปิ้ง เราอาศัยตา ตาให้ความเบิกบานและความสุขต่อชีวิตนี้ แต่ตัวตามันเอง เป็นทุกข์ เพราะมันเป็นของที่เสื่อม และเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น โดยตัวมันเอง คือหยินหยาง คือสุขและทุกข์ ปัญญา คือ ความเข้าใจว่า ทั้งหมดของชีวิตนี้เป็นทุกข์ โลกนี้ ผัสสะ อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ธาตุขันธ์ทั้งหมด ด้วยตัวมันเองเป็นทุกข์ แต่ความสามารถของมัน ในการรับผัสสะทั้งหมด มันรับได้ทั้งทุกข์และสุข เพราะฉะนั้น ทั้งหมดของเหรียญทั้งสองด้าน อยู่ที่ตัวของมัน มันมีทุกอย่าง แต่ความเห็นผิด เราอยากจะให้คุณค่ามันแค่ด้านเดียว เราไม่ยอมรับความมีอยู่ของมัน ที่เป็นของทั้งสองข้าง ถ้าเข้าใจที่ผมพูดทั้งหมด เราจะเข้าใจว่า ด้วยตัวชีวิตทั้งหมดนี้ ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ไม่สามารถจะเลือกข้างได้ ความสามารถในการที่มันเป็นได้ทั้งสองข้าง มันอยู่ด้วยกันสนิท ไม่มีรอยแยก คือความหมายที่เราเคยได้ยินว่า “กิเลส” กับ “โพธิ” เหมือนกัน เป็นสิ่งเดียวกัน เท่ากัน ... คือแบบนี้ โลกนี้ หรือมนุษย์ คือหัวใจของความแบ่งแยก คือหัวใจของการเลือกข้างของของคู่ ธรรมชาติของมันเป็นแบบนั้น การแจ่มแจ้งในธรรมชาติของมันแบบนี้ นี่คือ การปฏิบัติธรรม แต่มันยากที่คนคนนึงจะแจ่มแจ้งธรรมชาติแบบนี้ เพราะสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่ถูกที่สุด สิ่งที่บริสุทธิ์ที่สุด ให้กับตัวเอง #Camouflage 24-09-2566

Duration:00:18:09

Ask host to enable sharing for playback control

344.ตรัสรู้อริยสัจ 4

1/25/2024
บรรยายเมื่อ 16-09-2566 นักปฏิบัติธรรมเรามุ่งความสนใจไปที่นิโรธ คล้าย ๆ ว่า “นิโรธ” คือ เป้าหมายสำคัญของชีวิตที่เราต้องการ คือ ความดับทุกข์ นี่คือหัวใจของอวิชชาสูงสุด เราให้ความสำคัญ ให้ความสนใจ ว่าเราคนหนึ่งในฐานะมิจฉาทิฏฐิ จะไปถึงซึ่งความดับทุกข์ หมายความว่า หลังจากแจ่มแจ้งอริยสัจ 4 แล้ว ชีวิตทั้งชีวิตที่เหลือจากนั้น คงเหลือแค่นิโรธ ถ้าเราคิดว่า เราเป็นพระอรหันต์แล้ว เข้าใจที่ผมบอกมั้ยว่า มนุษย์เราคิดว่า ชีวิตนี้เป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นของเรา จึงเกิดวิธีคิดแบบที่ผมพูดเมื่อกี้นี้ทั้งหมด แล้วมันดูน่าเชื่อถือ มันดูน่ามีความหวัง มันดูเป็นอะไรที่เรามนุษย์คนหนึ่งสมควรจะได้รับในการเกิดมา และลงทุนปฏิบัติธรรม แล้วความหมายของการที่ท่านบอกว่า ท่านตรัสรู้อริยสัจ 4 คืออะไร? หมายความว่า แต่ละขณะของชีวิตนั้น เป็นการแจ่มแจ้งในทุกข์นี้ แล้วมันจะยังผลให้เกิดการละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค และด้วยสัมมาทิฏฐิข้อแรกที่ท่านสอนเอาไว้ คือ โลกนี้ว่างจากความเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา จึงไม่มีใครเข้าไปแทรกแซง หรือเป็นเจ้าของ กระบวนการของอริยสัจ 4 หรือเป็นเจ้าของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการของอริยสัจ 4 เช่น นิโรธ เป็นเพียงการตรัสรู้ว่า การเกิดมาในความเป็นมนุษย์นั้น อยู่ในโลกแห่งความขัดแย้งสูงสุดและความแบ่งแยกสูงสุด และนั่นนำไปสู่ความทุกข์ของมนุษย์โลกทั้งมวล และทางออกจากชีวิตที่เป็นความทุกข์อันมหาศาลของหมู่มวลมนุษย์นั้น คือ การที่คนคนหนึ่ง รู้จักว่าชีวิตที่แท้จริงนั้นเป็นอริยสัจ 4 แบบนี้ แค่นั้น ทางออกของชีวิตที่จะอยู่ในโลกนี้ได้ ไม่ใช่ทางออกของ “เรา” ท่านค้นพบว่า การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ในความเป็นมนุษย์ ในการอยู่ในโลกนี้ คือ การมีหัวใจที่เป็นอริยสัจ 4 เข้าใจไหมว่า ไม่มีใครจะไปไหน ไม่มีใครจะเป็นอะไร ไม่มีใครจะไม่เกิด หรือมาเกิด เหมือนเราพูดว่า จิตนี้เกิด แล้วก็ดับ ไม่มีใครเป็นเจ้าของความเกิด ไม่มีใครเป็นเจ้าของความดับ มันเป็นอย่างนี้เฉย ๆ เพราะฉะนั้น ชีวิตทั้งชีวิตก้อนใหญ่อันนี้ มีความเป็นอริยสัจ 4 แบบนี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เหมือนกับจิตเกิด และดับ ไม่มีใครเป็นเจ้าของโครงสร้างเหล่านี้ทั้งหมด และถ้าเราเข้าใจทั้งหมดที่ผมพูดนี้ ชีวิตนี้จะเป็นปัจจุบัน จะตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นปัจจุบัน และไม่เกี่ยวข้องกับของคู่ใด ๆ ที่โลกนี้สร้างขึ้นมา และชีวิตที่เป็นปัจจุบัน คือ ชีวิตที่ไม่ถูกครอบงำด้วยอวิชชา แล้วแปลว่า เราเป็นพระอรหันต์ไหม? เราจะไม่เกิดอีกแล้วไหม? คำถามแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ ชีวิตยังไม่เป็นปัจจุบัน เพราะถ้าชีวิตเป็นปัจจุบันแล้ว มันคิดไม่ออกกับคำถามแบบนั้น เหมือนเป็นคำถามเสมือน ที่ไม่มีอยู่จริง จะให้ตอบว่า เราเป็น มันก็รู้สึกตลก เหมือนเราตอบสิ่งที่ไม่มี ว่ามันมีอยู่จริง #Camouflage 16-09-2566

Duration:00:32:46

Ask host to enable sharing for playback control

343.ฝ่ากระแสมิจฉาทิฏฐิ

1/19/2024
บรรยายเมื่อ 02-09-2566 ผมเคยบอกว่า คนคนนึงจะออกจากโลกได้ จะต้องฝ่ามิจฉาทิฏฐิทั้งหมดของโลกนี้ ความคิดของเราต่อความสัมพันธ์ทั้งหมด ต่อสมมติทั้งหมด ที่เราเป็นจริงเป็นจัง ความคิดเหล่านั้นทั้งหมดเป็นตัวแทนของมิจฉาทิฏฐิของมนุษย์ทั้งโลกนี้ การที่เราจะต้องฝ่าความเห็นผิดนั้นไป หมายถึงว่า เราจะต้องฝ่าพลังงานทั้งหมดที่มนุษย์คิดเหมือนกัน และถ้าเราฝ่าไปได้นิดนึง แล้วเราก็รู้สึกว่ายากนะ เอาไว้ก่อนแล้วกัน อยู่ตรงนี้ เราก็โอเคหนิ เราก็จะกลับมาที่เดิม เราต้องฝ่าเข้าไป ในการฝ่านั้นมีความเจ็บปวดเสมอ ถ้าเราไม่ยอมเจ็บปวด ชีวิตเราก็สบาย และเมื่อชีวิตสบาย มันก็อยู่แค่นี้ อยู่ที่เดิมไปเรื่อย ๆ แต่การฝ่าทะลุพลังงานทั้งหมดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ออกมาในรูปของความคิด ความรู้สึก อารมณ์ มันเจ็บปวด และมันจะดันเรากลับ ในขณะของการฝ่านั้น สิ่งที่ต้องมีสูงสุด คือ ปัญญา และความอึด ถึก เหมือนจรวดที่จะต้องมีเชื้อเพลิงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการขาดตอน ไม่มีการที่จะให้ดันกลับ แต่พอคนเรามันไม่มีพลังงานของปัญญา ไม่มีพลังงานของความอึด ถึกแบบนั้น พอดันเข้าไป ๆ แล้วมันก็ถูกดันกลับ และพอเป็นแบบนี้หลาย ๆ ครั้ง เราก็เลิก เราไม่อยากเจ็บปวดแบบนั้นแล้ว ไปไม่ไหว เจ็บปวดหัวใจเกินไป รับไม่ได้ ทรมานใจมากเกินไป และนั่นคือวิธีของมิจฉาทิฏฐิที่จะทำให้คนไม่ยอมฉลาด ตอนที่เรากำลังจะทะลุขึ้นไป จากชั้นพลังงานมิจฉาทิฏฐิทั้งหมด สิ่งที่เราทำได้อย่างเดียว คือ ถ้าเราไปต่อไม่ได้ เราจะต้องไม่ถอย ถ้าชีวิตเรามีความทุกข์และความบีบคั้นน้อย เราต้องมีปัญญามากที่สุด ในการฝ่าวงล้อมนี้ออกไป ... เราจะต้องเผชิญความสัมพันธ์อันหลากหลาย ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะให้ความทุกข์ หรือความสุข หลังจากให้ความทุกข์ เกิดอะไรขึ้น? มันอาจจะให้ทุกข์มากขึ้น หลังจากที่เราได้ปรุงแต่งมากขึ้น หรือถ้ามันให้ความสุข เราก็อยากจะได้อีก มันก็เป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง เราต้องแจ่มแจ้งในความจริงของชีวิตว่า แต่ละอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด หรือความสัมพันธ์ทั้งหมด มันไม่มีแก่นของความจริง ในรูปแบบที่มนุษย์เคยสรุป ในเชิงของคุณค่านั้นเอาไว้จริง ๆ นี่คือสิ่งที่ผมบอกว่า เราต้องแจ่มแจ้งในโลก แจ่มแจ้งในชีวิตเบื้องต้นก่อน แบบนี้ หลังจากเราแจ่มแจ้ง เข้าใจในความลวงหลอกทั้งหมดของชีวิตนี้แล้ว ผ่านการพิจารณา ขั้นตอนต่อไปคือ การฝ่ามันออกไป ตอนที่พิจารณาทั้งหมดนั้น ใช้ความเจ็บปวดจากปฏิสัมพันธ์ หรือความคิดของเราเอง ในการอยู่ในโลกนี้ ซึ่งมันก็ทุกข์บ้าง สุขบ้าง และอาจจะทุกข์เยอะกว่าสุข นี่คือความเจ็บปวดที่มากระดับหนึ่ง ที่มากพอที่จะทำให้คนคนนึง หาทางพ้นทุกข์ แต่จะหาทางถูกมั้ย นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเมื่อคนคนนั้นหาทาง แล้วไปอย่างที่ผมบอก มันจะเกิดการฝ่ากระแสทั้งหมดของมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งอันนี้เจ็บจริง ทุกข์จริง ในเบื้องต้นที่เราได้พิจารณาแล้วนั้น จะเป็นรากฐานสำคัญของความมีปัญญาในชีวิต เป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ของการทะลุผ่านมิจฉาทิฏฐิขึ้นไป เพราะฉะนั้น เราต้องแจ่มแจ้งชีวิตอย่างมาก ในทุกอย่าง ในโลกนี้ เพราะมันคือเชื้อเพลิงสำคัญที่สุด ที่จะฝ่าพลังงานแห่งมิจฉาทิฏฐิทั้งหมดนี้ออกไปได้ #Camouflage 02-09-2566

Duration:00:22:28

Ask host to enable sharing for playback control

342.อกาลิโก

1/11/2024
บรรยายเมื่อ 02-09-2566 การเกิดมาของชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง มันหมายความว่าอะไร? เราคิดแต่ในทำนองที่ว่า เราเกิดมา ทุกข์เหลือเกิน และใครที่จะช่วยเรา ให้พ้นทุกข์นี้ได้ เราเองไม่รู้ด้วยซ้ำว่า วิธีคิดทั้งหมดนี้ คือ ระยะทาง และกาลเวลา และเป็นมิจฉาทิฏฐิ นี่คือวิธีคิดเบื้องแรกของมนุษย์เราทุกคน แต่มันไม่ใช่แค่เราคิดคนเดียว คนอื่นก็คิดเหมือนกัน และมีคนหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะพ้นทุกข์ ตั้งแต่การสร้างความบันเทิงในโลก จนมาถึงสร้างวิธีปฏิบัติธรรม นำเสนอให้กับบุคคลที่คิดเหมือน ๆ กัน โดยที่ไม่มีใครเห็นเลยว่า โครงสร้างทั้งหมดของการคิดแบบนี้ อยู่ภายใต้ระยะทาง และกาลเวลา ไม่ว่าผู้แนะนำ ผู้สอน จะพาคนคนนั้นไปถึงไหนก็ตาม ถึงที่ที่ทุกคนต้องการ หรือไม่ว่าจะมีคุณสมบัติอะไรก็ตาม ที่เรียกว่า “พ้นทุกข์” มันก็ยังเป็นมิจฉาทิฐิเหมือนเดิม แต่เรานิยมกัน ที่จะถามว่า เดี๋ยวนี้เรายังเป็นอย่างนั้นอยู่มั้ย เดี๋ยวนี้เรายังมีนั่นอยู่มั้ย เดี๋ยวนี้เรายังกระเทือนมั้ย เดี๋ยวนี้ตัวตนเราหมดไปหรือยัง? เราสนใจแค่ผลลัพธ์ซักอย่างหนึ่ง ที่กำลังบอกเราว่า ตัวเราเอง หรืออาจารย์ของเรา ไปถึงไหนแล้ว จบหรือยัง? เราสนใจแต่เรื่องของผลลัพธ์แบบนั้น โดยที่เราไม่เคยเห็นโครงสร้างของวิธีคิดของคนเหล่านั้น ว่ามันยังอยู่ภายใต้มิจฉาทิฏฐิเหมือนเดิม อย่าลืมที่ผมบอกว่า ธรรมะเป็นอกาลิโก มันไม่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา มันไม่ใช่การประเมิน ตัดสิน โดยใช้ผลลัพธ์เป็นตัวตั้ง เป็นตัวหลัก เพราะนั่นคือ วิธีคิดของโครงสร้างของกาลเวลา และอัตตาที่เป็นผู้ได้รับผลลัพธ์เหล่านั้น การเปลี่ยนผ่านที่แท้จริง ไม่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ขณะของชีวิตที่ไปพ้นจากกาลเวลา นั่นคือการเปลี่ยนผ่านอย่างฉับพลัน นั่นคือการเปลี่ยนผ่านที่แท้จริง มันคือคำสอนที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาตลอด คือคำว่า “ปัจจุบัน” …ปัจจุบันที่ไม่ใช่เวลา ปัจจุบันนี้หมายถึง ความสามารถในการเป็นอยู่ อย่างสมบูรณ์ที่สุดกับขณะนี้ ไม่ว่าขณะนี้จะเป็นความสงบ ความเงียบ หรือจะเป็นความโกรธ ความโลภ กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด อะไรก็ได้ ปัจจุบัน คือ ชีวิตที่มีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์กับสิ่งเหล่านั้น ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ทั้งหมด โดยไม่มีขณะของมิจฉาทิฏฐิที่อยากจะเปลี่ยนแปลง ไม่อยากเป็นแบบนี้ อยากเป็นแบบนั้น ไม่มีขณะของมิจฉาทิฏฐิ ที่มักจะสร้างระยะทางและกาลเวลาให้เกิดขึ้น เข้ามาเกี่ยวข้องกับขณะนี้ นี่คือ “ปัจจุบัน” และเมื่อไม่มีมิจฉาทิฏฐิ ที่อยากจะเปลี่ยนผ่าน เปลี่ยนแปลงมัน นัยยะนั่นหมายถึง “ความไม่มีเรา” ... ชีวิตที่เป็นความจริงสูงสุด คือชีวิตที่ของคู่ ไม่สามารถจะมีน้ำหนักเข้ามาภายในจิตใจได้อีกต่อไป ชีวิตจึงมีความสามารถที่จะเลื่อนไหลไปตามธรรมชาติ ด้วยความมีอิสรภาพสูงสุด ไร้ขีดจำกัดของมิจฉาทิฏฐิในเชิงของคู่ มันไม่ใช่ความหมายของคนคนนึงนิพพานแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มาเกิดอีกแล้ว นั่นเป็นเรื่องที่จะเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิก็ได้ หรือจะเรียกว่า เป็นการใช้สมมติในการสอนคนก็ได้ แต่ถ้าเราเข้าใจผิด มันจะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ มันเป็นแค่การที่สิ่งมีชีวิตนี้ ถูกปลดปล่อยจากมิจฉาทิฏฐิ และมีอิสรภาพ ตามธรรมชาติที่มันเป็น แค่นั้น Camouflage 02-09-2566

Duration:00:22:49

Ask host to enable sharing for playback control

341.ปิดประตูนั้นซะ...”วิถี” หรือ ”วิธี”

1/3/2024
บรรยายเมื่อ 17-07-2564 เราอยู่ในยุคของโลกาภิวัตน์ เราในยุคของที่ทุกอย่างจะต้องลัด สั้น ตัดตรง เราอยู่ในยุคของที่ว่า วิธีการอะไรที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมายได้เร็วที่สุด เราพลาดอย่างหนักที่เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้มันเป็นอะไรที่เร่งได้ เราไม่เข้าใจว่า ธรรมมะนั้นเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นเรื่องของชีวิตจริง ๆ มันไม่ใช่เรื่องของระบบอุตสาหกรรมเหมือนยุคโลกาภิวัตน์ ไอเดียของเราถูกหล่อหลอมมาในโครงสร้างของการที่ เราจะต้องเร็วที่สุด ดีที่สุด Effective ที่สุด เราเติบโตมาในยุคแบบนั้น แล้วเราก็ใช้โครงสร้างนี้กับการปฏิบัติธรรมด้วย แล้วพอดีว่าในยุคนี้ เป็นยุคที่สำนักส่วนใหญ่นำเสนอแบบนั้นให้เรา มันเหมือน supply กับ demand มาพร้อมกันพอดี วิถีชีวิตจริง ๆ ที่เรียกว่า “วิถีธรรม” มันหายไป “วิถี” กับ “วิธี” มันไม่เหมือนกัน “วิถี” มันใช้เวลา ใช้กระบวนการขัดเกลาตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ส่วน “วิธี” มันเป็นระบบอุตสาหกรรม มันเหมือนเราเป็นของชิ้นนึง เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง เราปฏิบัติธรรมเหมือนชีวิตของเราเป็นสิ่งของอันหนึ่ง นี่ผมเปรียบเทียบนะ มันเป็นความประจวบเหมาะมาก ที่ “วิถีธรรม” นั้นหายไป เพราะครูบาอาจารย์เก่า ๆ หายไปหมดแล้ว ตายไปหมดแล้ว มันกลายเป็น “วิธีทำ” แทน แล้วเราซื้อ เราเอา เพราะมันตรงกับกระบวนการหล่อหลอมเราขึ้นมา เราโตขึ้นมาในยุคนี้พอดี และสังคมเชิดชูกับกระบวนการแบบนี้ กระบวนการที่เร็ว ตรง ได้ผลชัดเจน วัดผลได้ เราเติบโตขึ้นมากับความครอบงำแบบนั้น และเสียงที่เป็นวิถีธรรม หรือเสียงของวิถีการใช้ชีวิต มันหายไป เสียงของการที่เราต้องใช้ทั้งชีวิต ใช้ธรรมชาติขัดเกลาชีวิตนี้ เรียนรู้ชีวิตนี้ หายไป ไม่มีใครพร้อมจะเสียสละเวลาของตัวเอง ที่จะเรียนรู้ตัวเองจริง ๆ ทุกคนขอวิธี นี่คือโครงสร้างใหญ่ที่ผมบอกว่า ตอนนี้เราพึ่งพิงกับ “คอร์สปฏิบัติธรรม” และเราพึ่งพิงกับ “วิธี” ที่เราสรรหาได้ ที่เราเชื่อว่าดีที่สุด เราพึ่งพิงกับแค่ 2 อย่างนี้ สำหรับนักปฏิบัติธรรมในยุคนี้ แต่สิ่งที่เราขาดที่สุดคือ วิถีธรรมมะ วิถีชีวิต การใช้ชีวิตจริง ๆ เราขาดสิ่งที่สำคัญที่สุด เราขาดกระบวนการธรรมชาติที่สำคัญที่สุด เราเลยตกอยู่ในหล่มของทั้งหมดที่ผมพูดถึง นั่นคือ ความเป็นเรา เพราะแนวคิดของการพึ่งพิงทั้ง 2 อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่เข้าใจโครงสร้างของกระบวนการทั้งหมดที่เราเชื่อ และผมไปบอกว่านี่ไม่ถูกนะ ตรงนั้นไม่ถูกนะ ตรงนี้ไม่ถูก ผมบอกปลาย ๆ แต่หัวหรือก้อนของความเชื่อนี้ ยังอยู่เหมือนเดิม มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร #Camouflage 17-07-2564

Duration:00:19:37