6 ขดเพชรในพระไตรปฏก-logo

6 ขดเพชรในพระไตรปฏก

Religion & Spirituality Podcas

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Location:

United States

Description:

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Language:

Thai


Episodes
Ask host to enable sharing for playback control

ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสภิกษุ” [6719-6t]

5/10/2024
คำว่า “นิททส” แปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี (บวชไม่ถึง 10 พรรษา) เป็นคำที่พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนดครบ 12 ปีแล้วจะสำเร็จเป็นอรหันต์ แต่ถ้าตายลงก่อนที่จะครบกำหนด ก็จะกลับมาเกิดใหม่ในจำนวนปีที่เหลือแล้วได้ความเป็นอรหันต์ในภพนั้น โดยความเป็นอรหันต์จะวัดจากระยะเวลาในการประพฤติพรหมจรรย์ครบ 12 ปี “นิททสภิกษุ” ตามความหมายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ไว้คือ พระอรหันต์ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาในการประพฤติธรรม แต่ขึ้นอยู่กับหลักคุณธรรม 7 ประการ ซึ่งได้ทรงแสดงไว้ 2 วาระด้วยกัน คือ วาระของท่านพระสารีบุตรในข้อที่ #42_ปฐมนิททสสูตร และ วาระของท่านพระอานนท์ในข้อที่ #43_ทุติยนิททสสูตร ว่าด้วยนิททสวัตถุ โดยทั้งสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 นี้ ได้แสดงถึงทางปฏิบัติ (เหตุ) คือ อรหัตมรรค ให้ไปสู่ผล คือ อรหัตผล และในทุติยนิททสสูตรนั้นมีหลักธรรมที่เหมือนกันกับสัปปุริสธรรม 7 ประการ ตามนัยยะของเสขปฏิปทาสูตรซึ่งบรรยายโดยพระอานนท์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:51:27

Ask host to enable sharing for playback control

ผู้ทำ “จิต” ให้อยู่ในอำนาจ [6718-6t]

5/3/2024
การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ มีสติปัฏฐาน 4 มีสติรู้ชัดเห็นการเกิด-ดับในทุกสภาวะ จะเป็นผู้ทำจิตให้ตกอยู่ในอำนาจหรือมีอำนาจเหนือจิตได้ ในข้อที่ #40_ปฐมวสสูตร และ ข้อที่ #41_ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ ประกอบด้วยธรรม 7 ประการเหมือนกัน แต่ทุติยวสสูตรจะเป็นนัยยะของท่านพระสารีบุตร ธรรม 7 ประการ คือ 1. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ - รู้เหตุปัจจัย คุณลักษณะ และคุณสมบัติของสมาธิ 2. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ - รู้เหตุที่ทำให้เข้าสมาธิได้โดยง่าย ความเป็นสัปปายะ และความอดทนต่ออายตนะ 3. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ - มีสติสัมปชัญญะเต็ม เห็นเหตุเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสมาธิ 4. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ - เห็นข้อเสียในสมาธิในจุดที่ตนเองอยู่ ละข้อเสียนั้น เห็นคุณในสมาธิขั้นต่อไป แล้วเลื่อนขึ้น 5. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ - ทำสมาธิโดยเอื้อเฟื้อกัน 6. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ - รู้ความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสมาธิสมถะและวิปัสสนา 7. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ - ผลคืออภิญญา 6 ที่เกิดจากสมาธิ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:43:01

Ask host to enable sharing for playback control

ขึ้นชื่อว่า “มิตร” [6717-6t]

4/26/2024
คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร หมายถึง กัลยาณมิตรทั่วไป ส่วนในทุติยมิตตสูตร หมายถึง ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์ “มิตร” ที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะเป็นมิตรแบบไหน.. จิตของเราจะต้องประกอบไปด้วยกับเมตตา มองกันด้วยสายตาแห่งความรักใคร่เอ็นดู มีจิตไม่คิดปองร้าย ไม่คิดผูกเวรกับใคร ๆ ถ้าเป็นมิตรเทียมก็ให้มีระยะห่างที่จะไม่คบ ไม่ใช่ด้วยการผูกเวร #38_ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร และ #39_ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร (นัยยะของท่านพระสารีบุตร) ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา (มีปัญญาแตกฉาน) ได้แก่ การมีสติเห็นจิตตามความเป็นจริงว่า จิตหดหู่ ท้อแท้ ฟุ้งซ่านหรือไม่ เห็นเวทนา สัญญา ความวิตกแห่งจิตว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ การรู้อุบายในการเกิดและการดับของสภาวะนั้น พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:57:00

Ask host to enable sharing for playback control

จุดที่สมาธิเปลี่ยนเป็นปัญญาด้วยองค์ 5 [6716-6t]

4/19/2024
ข้อที่ #28_ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลสได้ วิชชา 6 จะเกิดขึ้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ นี่คือจุดที่สมาธิจะเปลี่ยนเป็นปัญญา ตลอดกระบวนการต้องมีสติอยู่แล้วจึงจะสามารถรู้เห็นตรงนี้ได้ และปัจจเวกขณนิมิตมีได้ในทุกระดับฌาน เป็นตัวที่จะทำให้ฌานเลื่อนขึ้นได้เร็ว ข้อที่ #29_จังกมสูตร จังกม แปลว่า การเดิน ทำให้เกิดอานิสงส์ คือ 1) อดทนต่อการเดินทางไกล 2) อดทนต่อการทำความเพียร นี่คืออดทนต่อสิ่งที่อดทนได้ยาก รู้อยู่ว่าทุกข์แต่อยู่กับมันได้ 3) อาหารย่อยได้ง่าย 4) มีอาพาธน้อย นี่คือมีสุขภาพดี มีเวทนาเบาบาง และ 5) สมาธิที่เกิดตั้งอยู่ได้นาน ในอิริยาบถหยาบ ๆ ยังสามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น ยิ่งทุกข์มากยิ่งเห็นธรรมะ มีปัญญาในการแก้ปัญหา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต: ปัญจังคิกวรรคข้อที่ 28 – 29 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:54:22

Ask host to enable sharing for playback control

อปริหานิยธรรม-ความเจริญของอุบาสก [6715-6t]

4/12/2024
การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อมโดยเน้นมาที่อุบาสกและอุบาสิกา ได้แก่ ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ การฟังธรรมโดยไม่คิดเพ่งโทษ ศึกษาในอธิศีล ได้ให้ทานและมีความเลื่อมใส่ในสงฆ์ ข้อที่ 32-33-34-35 มีเนื้อหาธรรมะเหมือนกันในห้าข้อแรกแตกต่างกันในสองข้อท้าย โดยมีเนื้อหาปรารภถึงเทวดาองค์หนื่งมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง “ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ” โดยประการที่เหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ และที่แตกต่างกันในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีปฏิสันถาร (การต้อนรับ) / มีหิริ โอตตัปปะ / เป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค เทวตาวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:55:10

Ask host to enable sharing for playback control

อปริหานิยธรรม – สัญญาที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส [6714-6t]

4/5/2024
เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์” “อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม” ก็เช่นเดียวกัน ล้วนต่างมีเหตุที่ทำให้เจริญและเหตุที่ทำให้เสื่อม ว่าให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ ต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการมีอยู่และดับไปนั่นเอง ข้อที่ #27_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม กล่าวคือ สัญญา (การกำหนดหมายรู้) ที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส เพิ่มกุศลธรรมให้เกิดเจริญขึ้นมี 7 ประการ ได้แก่ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร, ความเป็นอนัตตาในธรรมทั้งหลาย, ความไม่งามในกาย, โทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ ละอกุศลวิตก กำหนดหมายวิราคะ (คลายกำหนัด) และนิโรธ (ความดับทุกข์) ว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต ข้อที่ #28_ปฐมปริหานิสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ในหัวข้อนี้เน้นมาที่พระเสขะ (ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่) โดยธรรมประการสุดท้ายได้กล่าวไว้น่าสนใจ เมื่อเห็นพระผู้บวชมานานรับภาระกิจในสงฆ์อยู่ พระผู้เป็นเสขะจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้ถึงความเสื่อม คือต้องอาศัยการวางจิตและการพิจารณาในกิจนั้นว่าเป็นเหตุทำให้กุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:50:44

Ask host to enable sharing for playback control

“ผู้นำ” เพื่อประโยชน์สุข [6713-6t]

3/29/2024
สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น” และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น” ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ 86 ผู้ที่ประกอบด้วย ปฏิสัมภิทา 4 (ได้แก่ 1. ปัญญาแตกฉานใน อรรถ, 2.ธรรม, 3. นิรุตติ, 4.ปฏิภาณ) และ มีความขยัน ไม่เกียจคร้าน “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” สีลวันตสูตร #ข้อ 87 ธรรม “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” ได้แก่ เป็นผู้มีความงามของศีล, เป็นพหูสูต เวลาบอกสอนมีข้อมูลพร้อม, พูดจาไพเราะ, มีสมาธิ, มีปัญญา เถรสูตร #ข้อ 88 ธรรมที่ไม่เกื้อกูล ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือ เป็นผู้บวชมานาน, มีชื่อเสียง ยศ บริวาร, ร่ำรวยด้วยปัจจัย 4, เป็นพหูสูต, เป็น มิจฉาทิฏฐิ (อกุศลเพิ่ม) และธรรมที่เกื้อกูล เป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก จะเหมือนกันใน 4 ประการแรก แตกต่างกันในประการที่ 5 คือ เป็น สัมมาทิฏฐิ คืออกุศลลด กุศลเพิ่ม วางความยึดถือลงได้ ปฐมเสขสูตร #ข้อ 89 ธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ (ยังต้องศึกษา) คือ ชอบการงาน, พูดคุย, หาความสุขในการนอน, ชอบคลุกคลี, ไม่พัฒนาคุณธรรมให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมา ทุติยเสขสูตร #ข้อ 90 มีกิจมาก, ปล่อยเวลาล่วงไป, คลุกคลีกับคฤหัสถ์, ออกบิณฑบาตเช้า-กลับสายนัก, ไม่ประกอบด้วยธรรมกถาต่างๆ แล้วละการหลีกเร้น จิตไม่เป็นสมาธิ เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เถรวรรค ข้อที่ 86-90 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:56:00

Ask host to enable sharing for playback control

อดทนให้เป็นปัญญา [6712-6t]

3/22/2024
ทบทวน #ข้อ 215 - #ข้อ 126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา “ผู้ใดแล.. เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนพาลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง” ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ 217 - 218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส(ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้ อัคคิสูตร #ข้อ 219 โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถา มธุราสูตร #ข้อ 220 นครมธุรา มีโทษคือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ ละอาสวกิเลสไม่ได้ ไม่ควรอยู่ที่นั่น ปฐม-ทุติยทีฆจาริกสูตร #ข้อ221 - 222 ผู้จาริกไปนาน ไม่มีกำหนดมีโทษ คือ จะไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟัง เป็นโรคร้ายแรง ไม่มีมิตร อตินิวาสสูตร-มัจฉรีสูตร #ข้อ223 - 224 การอยู่ประจำที่นานมีโทษ คือ มีสิ่งของ และเภสัชสะสมมาก มีกิจมาก คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ ห่วงใยและตระหนี่ในอาวาส ตระหนี่ในตระกูล ในลาภ วรรณะ และในธรรม พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อักโกสกวรรค ทีฆจาริกวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:53:58

Ask host to enable sharing for playback control

สัญญาในสิ่งทั้งสอง [6711-6t]

3/15/2024
อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1) บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2) อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3) เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4) เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า และ 5) ผู้เขลา ไม่รู้จักธรรมดำธรรมขาว อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์ สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5 ประการ ที่หาได้ยากในโลก” โดยมีนัยยะมุ่งไปในทางกาม ส่วนนัยยะของพระผู้มีพระภาคนั้น คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อริยบุคคล และผู้กตัญญูกตเวที เป็นสิ่งหาได้ยากในโลก ติกัณฑกีสูตร #ข้อ144 พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน ได้ตรัสเรื่อง การกำหนดหมายรู้ในสิ่งที่เป็นปฎิกูลและไม่ปฏิกูลเพื่อ ละความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลง พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:55:45

Ask host to enable sharing for playback control

อปริหานิยธรรม – ธรรมของภิกษุผู้เจริญ [6710-6t]

3/8/2024
อปริหานิยธรรม 7 ประการ ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย) ซึ่งได้แสดงจำแนกไว้หลายนัยยะ ข้อที่ 23_ปฐมสัตตกสูตร (สูตรที่ ๑) ข้อที่ 24_ทุติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๒) ข้อที่ 25_ตติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๓) คือ ศรัทธา – ศรัทธาอันมั่นคงในพระรัตนตรัย / หิริ / โอตตัปปะ / พหูสูต - สดับฟังธรรม / ความเพียร / สติ / ปัญญา ข้อที่ 26_โพชฌังคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม ก็คือยกโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการมา (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค ...................................................................................... เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่องค์การยูเนสโกให้การยกย่อง (พ.ศ.2566 - พ.ศ.2567) และวาระครบรอบ 124 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิ ดร.ธวัช มกรพงศ์ ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ อักขระคิริลิซซา สำหรับชนชาติรัสเซีย วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. - 16.30.น. ( 12.30 น. เริ่มลงทะเบียนผู้เข้าร่วมสัมมนา ) ณ ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช ชั้น 9 ตึกอเนกประสงค์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) หัวข้อสัมมนา (การสัมมนาครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ) Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:57:45

Ask host to enable sharing for playback control

สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา [6709-6t]

3/1/2024
#25_อนุสสติฏฐานสูตร เมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1) พุทธานุสสติ 2) ธัมมานุสสติ 3) สังฆานุสสติ 4) สีลานุสสติ 5) จาคานุสสติ 6) เทวตานุสสติ #26_มหากัจจานสูตร พระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้ #27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง (สูตร1) และ ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเหล่าภิกษุเถระ (สูตร 2) ถึงสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ซึ่งก็ได้แก่ สมัยที่ถูกนิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และไม่รู้นิมิต (เครื่องหมาย) ซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะสำหรับผู้อาศัยมนสิการ (ทำไว้ในใจ) อยู่ เพื่อขอให้ท่านได้แสดงอุบายเป็นเครื่องนำออกจากสิ่งนั้นได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:53:37

Ask host to enable sharing for playback control

อปริหานิยธรรม – หลักธรรมของกษัตริย์วัชชี [6708-6t]

2/23/2024
อปริหานิยธรรม (ราชอปริหานิยธรรม) 7 ประการ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริ (แคว้นมคธ) ยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมทางการฑูตหรือยุแยกให้แตกสามัคคีกัน #22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ พระผู้มีพระภาคทรงไม่ตรัสตอบแต่ทรงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามถึง “อปริหานิยธรรม 7 ประการ” ของชาววัชชี จึงทำให้วัสสการพราหมณ์มีปัญญาเห็นกลอุบายที่จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีนั่นคือ “ทำให้แตกแยกสามัคคี” ... จึงได้คิดวางแผนให้วัสสการพราหมณ์ปลอมเข้าไปเป็นไส้ศึก ซึ่งวิธีการที่ใช้ คือ 1. ทำให้ไม่เชื่อใจกัน (ระแวง) 2. ทำให้ไม่พอใจกัน ซึ่งใช้ระยะเวลาอยู่ 3 ปี ก็โค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีได้สำเร็จ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค ....................................................................................... *อปริหานิยธรรม 7 ประการ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:53:45

Ask host to enable sharing for playback control

“ภัย” เป็นชื่อของกาม [6707-6t]

2/16/2024
#21_สามกสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1) เป็นผู้ชอบการงาน 2) ชอบการพูดคุย 3) ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4) ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5) เป็นผู้ว่ายาก 6) มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) #22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน #23_ภยสูตร คำว่า ‘ภัย (อันตราย) ทุกข์ (ยึดถือ) โรค (อ่อนกำลัง) ฝี (จิตกลัดหนอง) เครื่องข้อง (บีบคั้น) เปือกตม (จมอยู่)’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะกามทำให้ผูกพัน มีฉันทราคะ ลุ่มหลง ก็จะทำให้เกิด ‘ภัย ทุกข์ โรค ฝี เครื่องข้อง เปือกตม’ ขึ้น ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า #24_หิมวันตสูตร ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมทำลายอวิชชาได้ คือ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ (สัปปายะ) ในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ ในการออกจากสมาธิ ในความพร้อมแห่งสมาธิ ในอารมณ์แห่งสมาธิ และในอภินิหารแห่งสมาธิ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:52:18

Ask host to enable sharing for playback control

กิเลส ดุจตะปูตรึงใจ [6706-6t]

2/9/2024
จิตที่ไม่นุ่มนวล เพราะถูกกิเลสรัดตรึงไว้ จิตจะไม่ก้าวหน้า ให้เราเอาเครื่องขวางนี้ออก จิตของเราจะมีการพัฒนา บรรลุธรรมได้ กิมพิลสูตร #ข้อ 201 ท่านกิมพิละได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นก็คือพุทธบริษัท 4 นี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ในสิกขา และ ในกันและกัน ธัมมัสสวนสูตร #ข้อ 202 การฟังธรรมจะมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บรรเทาความสงสัยเสียได้ ทำให้มีความเห็นตรง จิตย่อมเลื่อมใส อัสสาชานียสูตร #ข้อ 203 อุปมาอุปไมยม้าอาชาไนยกับภิกษุ ในเรื่องความตรง ความมีเชาว์ ความอ่อน ความอดทน และความเสงี่ยม พลสูตร #ข้อ 204 พละ คือ กำลังคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา เจโตขิลสูตร #ข้อ 205 กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ คือ มีความเคลือบแคลง ไม่ลงใจในพระรัตนตรัย ในสิกขา และเป็นผู้มีโทสะในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ วินิพันธสูตร #ข้อ 206 กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ คือ มีความกำหนัดในกามคุณ 5 ในกาย (อัตภาพ) ในรูป (รูปฌาน) กินอิ่มจนเกินไป และปรารถนาความเป็นเทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ยาคุสูตร #ข้อ 207 อานิสงส์ของยาคู (ข้าวต้ม) คือ บรรเทาความหิว กระหาย ลมเดินคล่อง ดีต่อลำไส้ ย่อยง่าย พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กิมพิลวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:54:59

Ask host to enable sharing for playback control

ผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ [6705-6t]

2/2/2024
มุณฑราชวรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช เริ่มด้วยข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องด้วยข้อที่ 40 ไส้ในเหมือนกัน หัวข้อและอุปมาต่างกัน ในข้อที่ 42 นี้คือ คนดีเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คนดีดูได้ที่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ท่านอุปมาเฆฆฝนที่ตั้งขึ้นย่อมมีคุณต่อชาวนาในการเพาะปลูก ข้อที่ 41 อาทิยสูตร บุคคลที่มีโภคทรัพย์แล้ว ควรถือประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้ครบทั้ง 5 ประการ เพราะแต่ละข้อให้ประโยชน์แตกต่างกัน ควรจะขวนขวายเอาให้หมดจากเงินแม้น้อยหรือมากที่เรามีก็ตาม รู้จักบริหารเป็นสุขอยู่โดยธรรม ด้านบำรุงครอบครัวและมิตรให้พลังมีความเพียร ด้านป้องกันภัยให้มีเงินเก็บรู้จักลงทุน ด้านสละเพื่อสังคมทำให้มีกัลยาณมิตร และด้านที่สละออกแด่เนื้อนาบุญจะทำให้บุญนั้นให้ผล ข้อที่ 43 อิฏฐสูตร ธรรมะ 5 อย่างที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินไปในสิ่งนั้น ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้มีปฏิปทาที่ให้เกิดผลนั้นอยู่ ถ้าเราสร้างเหตุเฉยๆ ไม่มีความอยาก มีความแยบคายในการปฏิบัติ อริยสาวกย่อมได้รับธรรมะห้าข้อนี้ ที่น่าสนใจ คือ เรามักสร้างเหตุถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าสอน แต่เงื่อนไขเราทำมันไม่ถูกต้อง เพราะทำตามความอยาก มันกลายเป็นอ้อนวอนทันที มันกลายเป็นที่น่าปรารถนาทันที ทั้งๆ ที่ไม่ได้คุกเข่าอ้อนวอนอย่างเดียวสร้างเหตุไปด้วย นั่นแหละผิด ต้องไม่อ้อนวอน ไม่อยาก อย่าไปเพลิน สร้างเหตุที่ถูกต้อง ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่มีปัญหา คนอย่างนี้จะรักษาประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้ ข้อที่ 44 มนาปทายีสูตร ผู้ที่ถวายของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ เหมือนกับคฤหบดีนี้ที่เห็นผลเมื่อไปเกิดในสวรรค์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต มุณฑราชวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:54:22

Ask host to enable sharing for playback control

อปริหานิยธรรม – ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ [6704-6t]

1/26/2024
“อปริหานิยธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียวไม่มีความเสื่อมเลย ความเจริญ ในที่นี้หมายถึงความเจริญด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ซึ่งในข้อที่ 21 และข้อที่ 22 ได้แสดงถึงอปริหานิยธรรม 7 ประการที่เหมือนกัน และมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องราวของพวกชาววัชชี โดยในข้อที่ #21_สารันททสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอปริหานิยธรรมแก่พวกเจ้าลิจฉวี และข้อที่ #22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ พระผู้มีพระภาคทรงไม่ตรัสตอบแต่ทรงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามถึงอปริหานิยธรรม 7 ประการของชาววัชชี จึงทำให้วัสสการพราหมณ์มีปัญญาเห็นกลอุบายที่จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีนั่นคือ “ทำให้แตกแยกสามัคคี” พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค .............................................................................. Q & A: จากงาน “ขุมทรัพย์แห่งใจ” Q: ปฏิบัติศีล 8 เฉพาะวันพระได้หรือไม่? A: ศีล คือข้อปฏิบัติที่เป็นผลดีกับผู้ปฏิบัติเอง ควรปฏิบัติให้เป็นปกติในทุกวัน อาจจะเริ่มจาก ศีล 5 ก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ละข้อ เป็นศีล 6 -7 - 8 จนเต็มบริบูรณ์ Q: ตั้งจิตแผ่เมตตาให้กับคนที่หวังร้ายได้อย่างไร? A: ให้ตั้งจิตนึกถึง “จิตของผู้ที่เป็นแม่” ที่มีความรักให้กับลูกได้อย่างไม่มีเงื่อนไข และไม่มีประมาณ ไม่ว่าลูกจะดีหรือร้ายกับเราอย่างไร จิตของผู้เป็นแม่ก็ยังคงรักและมีเมตตากับลูกเสมอ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:54:48

Ask host to enable sharing for playback control

ธรรมะรับอรุณ Live 20 ม.ค. 2567 - “สติ” ยารักษาโรคทุกข์ [6703-6t_Live]

1/20/2024
Q: ประสบปัญหาสูญเสียดวงตา เคยคิดฆ่าตัวตายแต่ไม่กล้า / คาถา “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” ที่ใช้สวดในงานศพมีความหมายอย่างไร? A: ผู้ที่ประสบปัญหาแล้วแต่มีความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานั้น เราเรียกความกล้าหาญของผู้นี้ว่า "เป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม” / “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” แปลได้ว่า “ทานที่ให้แล้ว บุญที่กระทำแล้วมีผล” หมายความว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่เราได้กระทำไว้ไม่สูญเปล่าย่อมส่งผลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า Q: เมื่อประสบความทุกข์อยู่ต่อหน้าอะไรคือทางออก? A: สติคือทางออกอย่างแรกเลย สติจะมีหน้าที่คอยแยกแยะไม่ให้หลงเพลินไปในความทุกข์นั้น ให้มีความอดทนต่อผัสสะต่างๆ สั่งสมปัญญาด้วยการฟังธรรมอยู่เนืองๆ จิตจะคลายความยึดถือลง เบาลง Q: มีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในระหว่างการทำสมาธิ A: “สมาธิไม่ได้ด้วยการบังคับ” อย่าบังคับความคิด แต่ให้ดึงสติให้มาสังเกตลมหายใจอยู่ที่จมูก Q: เรื่องภาษาและเชื้อขาติ กับคำสอนของพระพุทธเจ้า A: คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับ “ทุกขอริยสัจ” เป็นความจริงบนโลกซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ในทุกชาติทุกภาษา Q: มักจะเจอคำตอบของปัญหาในการฟังธรรม A: ทุกข์บนโลกนี้มีมาก และทุกคนก็ประสบความทุกข์เหมือนกัน กล่าวคือ การเกิดเป็นทุกข์ ตัณหาคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และธรรมของพระพุทธเจ้าคือข้อปฏิบัติทำให้สิ้นทุกข์เพราะฉะนั้น เมื่อได้มีการฟังธรรมแล้วจึงพบคำตอบของกองทุกข์เหล่านั้น Q: โรคภาวะทางอารมณ์ “ไบโพล่า” A: ทางกายภาพอาจรักษาด้วยการให้ยาปรับสารเคมีในสมอง แต่ทางด้านจิตใจนั้นปรับรักษาด้วยการ “มีสติ” ดึงสติให้มาระลึกรู้อยู่กับลมหายใจให้ได้อยู่บ่อยๆ เมื่อสติมีกำลังจะไม่เผลอเพลินไปตามความคิด ความแปรปรวนในอารมณ์ก็จะค่อยๆเบาบางและสงบลง Q: คำว่า “มีสติอยู่กับปัจจุบัน” A: ไม่หลงลืมลมหายใจแม้จะคิดถึงเรื่องที่เป็นอดีต เรื่องในปัจจุบัน หรือเรื่องที่เป็นอนาคต คือ คิดได้แต่ไม่หลงไม่เพลินไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:01:00:44

Ask host to enable sharing for playback control

ผู้เห็นความเป็นสุขในนิพพาน [6702-6t]

1/12/2024
การที่เราจะมาพิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพานได้นั้น ต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติตามอริยมรรค เพื่อให้เข้าใจทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ และปัญญาที่จะเห็นแจ้งในการดับทุกข์ ซึ่งในข้อที่ #19_นิพพานสูตร ได้เน้นถึงการมีสัญญาเห็นอยู่บ่อย ๆ ใน “ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ในสังขารทั้งหลายและการดับลงแห่งสังขารทั้งหลายของอนาคามีและอรหันต์ 7 จำพวกซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวายฯลฯ.. เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก *การมีสติตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 จะทำให้เราเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในสังขารทั้งหลาย เข้าถึงนิพพานในปัจจุบันได้ #20_นิททสวัตถุสูตร การบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งไม่ได้เกี่ยวเนื่องด้วยจำนวนพรรษา แต่อยู่ที่การปฏิบัติในศีล สมาธิ และปัญญา มีการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ข่มตัณหา อยู่หลีกเร้น ปรารภความเพียร มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน แทงตลอดด้วยทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อนุสยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:57:16

Ask host to enable sharing for playback control

ชื่อว่าอริยบุคคล [6701-6t]

1/5/2024
ขยายความในข้อที่ 14 ให้เห็นถึงลักษณะของโสดาบันในสไตล์การบรรลุที่ต่างกัน ไล่มาตั้งแต่โสดาปัตติมรรคคือธัมมานุสารีและสัทธานุสารีนี้เป็นมรรคให้เกิดผลในกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ส่วนในสองข้อแรกคืออรหันต์ ต่อมาในข้อที่ 15 เปรียบด้วยบุคคลผู้ตกน้ำ เป็นอุปมาอุปไมยการท่วมทับจากกามจนจมน้ำ จนถึงกายแห้งขึ้นบกคืออรหันต์ โดยมีอินทรีย์ 5 เป็นตัววัดในการพัฒนาของบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ คือ 1) จมแล้ว จมเลย=ดำมืด ไม่มีกุศลธรรม 2) โผล่แล้ว จมลงอีก=มีอยู่แต่ไม่คงที่ 3) โผล่แล้ว หยุดอยู่=คงที่ 4) โผล่แล้ว เหลียวมองดู=โสดาบัน 5) โผล่แล้ว ข้ามไป=สกทาคามี 6) โผล่แล้ว ได้ที่พึ่ง=อนาคามี และ 7) โผล่แล้ว เข้าถึงฝั่ง=อรหันต์ ข้อที่ 16, 17 และ18 มีความต่างกันตรงเหตุที่ทำให้บรรลุคือการพิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยมีพื้นฐานเหมือนข้อที่ 14 โดยในสองข้อแรกหมายถึงอรหันต์ ส่วนข้อที่เหลือหมายถึงอนาคามี 5 ประเภท ที่มีเวลาการบรรลุที่แตกต่างกันตามภพที่ไปเกิด คือ อัตราปรินิพพายี มีอายุไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน, อุปหัจจปรินิพพายี อายุเลยกึ่งจึงนิพพาน, อสังขารปรินิพพายี บรรลุโดยไม่ใช้ความเพียรมาก, สสังขารปรินิพพายี ใช้ความเพียรมาก และประเภทสุดท้ายคือ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี เลื่อนขั้นไปอกนิฏฐภพจึงปรินิพพาน ใช้เวลานานสุด เหตุปัจจัยที่ทำให้บรรลุธรรมคือหมั่นเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดระยะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:57:10

Ask host to enable sharing for playback control

อนุสัย - กิเลสความเคยชินของจิต [6652-6t]

12/29/2023
อนุสัย หมายถึง ความเคยชิน เป็นกิเลสอย่างละเอียดที่ตกตะกอนนอนแนบนิ่งอยู่ในจิต คือทุกครั้งที่จิตของเราเกิดกิเลสขึ้น มันจะทิ้งคราบคือความเคยชินไว้ให้เสมอ พอมีอะไรมากระทบอารมณ์มันจะแสดงตัวออกมาทันที ยิ่งถ้าเกิดกิเลสขึ้นมาบ่อยๆก็จะยิ่งมีอนุสัยมากขึ้น ข้อที่ #10_มัจฉริยสูตร สังโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ ได้แก่ สังโยชน์ คือ ความยินดี, ความยินร้าย, ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความริษยา (ตนเองไม่มี-แต่คนอื่นมี), ความตระหนี่ (ตนเองมี-แต่ไม่ให้) ข้อที่ #11-12_ปฐม-ทุติยอนุสยสูตร อนุสัย คือ กิเลสที่นองเนื่องในสันดาน ได้แก่ อนุสัย คือ ความกำหนัดในกาม, ความยินร้าย, ความเห็นผิด, ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความติดใจในภพ, ความไม่รู้แจ้ง *กิเลสที่ทำให้เกิดอนุสัย 7 และ สังโยชน์ 7 นี้ สังเกตเห็นได้ว่า เป็นกิเลสอย่างละเอียดชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดสะสมอยู่ในจิตแล้วผลคือ ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ สามารถละได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาอย่างละเอียด ข้อที่#13_กุลสูตร ตระกูลที่ประด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ ภิกษุควรเข้าไปหา (ไว้ใช้พิจารณาการเข้าสู่ตระกูล) คือ มีการลุกขึ้นต้อนรับ-ไหว้-ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ, ไม่ปกปิดของที่มีอยู่, มีของมาก ก็ถวายมาก, มีของประณีต ก็ถวายของประณีต, ถวายโดยเคารพ ข้อ#14_ปุคคลสูตร บุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย (อริยบุคคล) พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อนุสยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Duration:00:55:22